Page 214 - 21211_fulltext
P. 214
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
จัดเก็บขยะ – แต่ในความเป็นจริงที่ประจักษ์ได้ชัดเจนคือ ประชาชนใน อบต. ที่ไม่มี
บริการจัดเก็บขยะ รวบรวมขยะไปทิ้งในเขตเทศบาลใกล้เคียง ค) หน่วยงานท้องถิ่น
ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตลอดทั้งปี และเกิด
30
economies-of-scope
สี่ สาเหตุประการหนึ่งของ “การไม่ประหยัดจากขนาด” ใน เทศบาล และ อบต.
ขนาดเล็ก--เกี่ยวกับโครงสร้างบุคลากร (local personnel employment) สะท้อน
ลักษณะต้นทุนคงที่ (fixed cost) หมายความว่า เทศบาล และ อบต. ถึงแม้ว่า
มีขนาดเล็ก (ประชากรน้อยกว่า 2,000 คน) แต่จำนวนข้าราชการและพนักงานแทบจะ
ไม่แตกต่างจากหน่วยงานขนาดปานกลาง (ประชากร 3,000-5,000 คน) เพราะ
โครงสร้างองค์กรระบุมีตำแหน่ง ก) ปลัด ข) รองปลัด ค) หัวหน้ากอง
ห้า ผลสำรวจเทศบาล และ อบต. ขนาดเล็ก โดยสุ่มจากในกลุ่ม rankpop < 501
ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 159 แห่งนำมาวิเคราะห์ โดยมีผลสรุปใจความสำคัญคือ
ก) บุคลากรท้องถิ่นส่วนใหญ่รับทราบนโยบายการควบรวมของรัฐบาล หมายถึง
ข้อเสนอ 2 ข้อของ สปท. ข) ประมาณหนึ่งในสาม ของหน่วยงานท้องถิ่นที่ตอบ
แบบสอบถาม ได้มีการเตรียมการ หมายถึง การนำมาอภิปรายในกลุ่มผู้บริหาร หรือเป็น
วาระการพิจารณาของสภาท้องถิ่น ค) ท้องถิ่นส่วนใหญ่ประเมินสถานการณ์ว่า “ขณะนี้
รัฐบาลยังมิได้ส่งสัญญาณว่าจะควบรวมจริง ๆ” กล่าวคือ ไม่มีเอกสารหรือคำแนะนำ
จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หรือ สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจ
ด้วยเหตุนี้ท้องถิ่นส่วนใหญ่จึงมิได้ผลักดันมาตรการควบรวม หรือการเตรียมการ
ง) 2 ใน 3 ของผู้บริหารท้องถิ่นที่ตอบแบบสอบถาม เห็นด้วยกับข้อเสนอ “เขตตำบล
เดียวกันควรจะมี อปท. แห่งเดียว” หมายถึง ควรควบรวมเทศบาลและ อบต. ที่ขนาด
เล็กและอยู่ในตำบลเดียวกัน จ) ผู้บริหารส่วนหนึ่งเห็นด้วยว่า มาตรการควบรวมอาจจะ
เกิดผลดีในแง่ลดความเหลื่อมล้ำ
30 ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมในวันนักขัดฤกษ์ในเทศบาล/อบต. ขนาดใหญ่ มีประชาชน
มาร่วมงานจำนวนนับร้อย ทั้งประชากรวัยเด็ก วัยทำงาน และ วัยสูงอายุ หน่วยงานสามารถทำกิจกรรม
พร้อม ๆ กัน 3 กิจกรรมตามค่านิยมของประชากรแต่ละวัย สมมติเรียกว่า A, B, C ตามลำดับ ต้นทุน
จากการทำงานพร้อมกัน A + B + C ต่ำกว่าการแยกทำกิจกรรม cost(A) + cost(B) + cost(C)
สถาบันพระปกเกล้า 1 1