Page 209 - 21211_fulltext
P. 209

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                 ต่อหมู่บ้าน)  ในขณะที่การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล เป็นตัวแทนของทั้งเขตพื้นที่
                          28
                 ข) ตำแหน่งบริหาร (ปลัด หัวหน้ากอง) ลดลงเมื่อควบรวมระหว่างเทศบาล/อบต.
                 เป็นตำแหน่งที่มีผลตอบแทนต่อบุคลากร นอกจากนี้อาจจะมองว่าเป็นการ
                 “ลดตำแหน่ง” หรือโอกาสการก้าวหน้าทางราชการ  ค) ประชาชนมีความลังเลหรือ

                 ไม่แน่ใจว่า การควบรวมจะเป็นผลดีต่อการจัดบริการสาธารณะ แต่มีต้นทุนค่าโสหุ้ย
                 เนื่องจากพื้นที่เทศบาลขยายออกไป ดังนั้น ระยะการเดินทางจากบ้านถึงสำนักงาน

                 เทศบาลอาจเพิ่มขึ้น

                 8.1 วิธีวิทยา




                      ในการศึกษาครั้งนี้คณะวิจัยได้ประยุกต์วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ควบคู่กับการวิจัย
                 เชิงคุณภาพ โดยเริ่มจาก

                        ๏  การวิเคราะห์สถานการณ์ตามความเป็นจริง (situational analysis) โดย
                          กำหนดให้เทศบาล และ อบต. เป็นหน่วยวิเคราะห์ จำนวน 7,775 หน่วยงาน

                          การประมวลข้อมูลจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ  ก) ข้อมูลพื้นฐาน
                          ของเทศบาล และ อบต. ได้แก่จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่ ความหนาแน่น

                          ประชากร และสภาพทางภูมิศาสตร์ ข) ข้อมูลรายได้และรายจ่ายของ
                          เทศบาล และ อบต. โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านรายจ่ายจำแนกออกเป็น
                          รายจ่ายบุคลากร รายจ่ายการลงทุน และ รายจ่ายการจัดทำบริการ
                          สาธารณะ ค) ข้อมูลบุคลากร หมายถึงโครงสร้างการจ้างงานโดยจำแนก

                          ออกเป็นตำแหน่งข้าราชการ ลูกจ้างประจำลูกจ้างชั่วคราว

                        ๏  การทดสอบข้อสันนิษฐานโดยใช้แบบจำลอง ซึ่งประกอบด้วย 3 สมการ
                          สมการแรก จำนวนบุคลากรต่อประชากรหนึ่งพันคน (staffpop1000)

                          สมการที่สอง รายจ่ายบุคลากรต่อประชากร (capxstaff)  สมการที่สาม

                    28   จำนวนสมาชิก อบต. รวมกันมากกว่าหนึ่งแสนคน คำนวณจากจำนวน อบต. 5334 แห่ง (2559)
                 และสมมติว่าประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน 5334 x 10 x 2 = 106,680 คน  ประจักษ์ชัดว่ามีจำนวนมาก
                 และเป็นภาระทางการคลังไม่น้อยในการจ่ายค่าตอบแทนสมาชิกฯ เท่าที่คณะวิจัยรับทราบข้อมูล
                 เข้าใจว่า มีข้อเสนอให้ลดจำนวนสมาชิก อบต. ลงเหลือ 1 คนต่อหมู่บ้าน ซึ่งลดค่าใช้จ่ายส่วนหนี่ง
                 แต่ยังคงรักษาโครงสร้างเดิมเอาไว้



             1   สถาบันพระปกเกล้า
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214