Page 210 - 21211_fulltext
P. 210
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
รายจ่ายการจัดบริการต่อประชากร (capxser) ต่อจากนั้นประมาณการ
ความสัมพันธ์ด้วยเทคนิค robust regression วัดการประหยัดจากขนาด
เมื่อ dy/dx < 0 ในช่วงแรก (โดยที่ dy หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของ
ตัวแปรตาม และ dx หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ) จุดที่
ต้นทุนต่ำสุดเมื่อ dy/dy=0 หลังจากผ่านช่วงนี้ dy/dy > 0 หมายถึง
ต้นทุนเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดใหญ่ขึ้นสะท้อนการไม่ประหยัดจากชนาด
๏ การศึกษาในครั้งนี้ใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงสถาบันเป็นแนวทางการวิจ้ย คือ
การตระหนักว่ากฎระเบียบแรงจูงใจและต้นทุนค่าโสหุ้ยมีความสำคัญ
หมายถึง พยายามเข้าใจ “ตัวละคร” (agent) ในบริบทนี้หมายถึง ทัศนะ
และมุมมองของผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการและลูกจ้างพนักงานท้องถิ่น
พลเมืองของท้องถิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเปลี่ยนแปลง
(ตามนโยบายการควบรวมท้องถิ่น)
๏ การตระหนักถึงความจริงว่า การปรับปรุงองค์กรภาครัฐ (ในที่นี้หมายถึง
เทศบาล และ อบต. ที่อยู่ในข่ายการควบรวม) ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่าน
องค์กร (organizational transformation) และส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง
กล่าวคือ ผลกระทบต่อการคลังและงบประมาณแผ่นดิน การปรับปรุง
โครงสร้างบุคลากร การปรับปรุงองค์กร (โอนทรัพย์สิน ปรับปรุงทะเบียน
บัญชีการเงินการคลังฯ ) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจำแนกออกเป็นผลต่อส่วนรวม
และผลกระทบส่วนบุคคล และมีความเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ
๏ การตระหนักถึงปัญหา “อสมมาตร” (asymmetrical effects) กล่าวคือ
การเปลี่ยนแปลงใดๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนบุคคล ในส่วนที่เป็นบวก
คนยอมรับ – แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดผลกระทบทางลบส่วนบุคคล—
ย่อมมีเสียงคัดค้าน ไม่เห็นด้วย
๏ การวิเคราะห์ผลกระทบในภาพรวมจึงต้องคำนึงถึงสภาพการณ์ “ได้อย่าง-
เสียอย่าง” (trade-offs) ให้น้ำหนักความสำคัญต่อผลกระทบในระยะยาว
มากกว่าในระยะสั้น
สถาบันพระปกเกล้า 1