Page 203 - 21211_fulltext
P. 203
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ตารางที่ 7.6 การรับทราบว่า เคยมีการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอดีต
การรับทราบข่าวว่ามีการควบรวม อปท. แล้ว จำนวน ร้อยละ
1) ทราบกรณี ควบรวม อปท. ที่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง 57 35.85
ในปี พ.ศ. 2560
2) ทราบกรณี ควบรวม อปท. อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว 14 8.81
ในปี พ.ศ. 2553
3) ทราบกรณีอื่น ๆ 27 16.98
4) ไม่ทราบ 61 38.36
รวม 159 100.00
ที่มา: ผลสำรวจโดยคณะวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การสำรวจในคำถามที่ว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดที่ว่า 1 ตำบลควรมี
1 อปท.” พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ เห็นด้วยหรือสนับสนุนแนวคิด
ที่ว่า หนึ่งตำบลควรมีหนึ่ง อปท. กล่าวคือจำนวน 110 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 69.18
พร้อมให้เหตุผลสนับสนุนว่า ก) ช่วยประหยัดงบประมาณ ข) พื้นที่ไม่ทับซ้อนกันและ
แบ่งพื้นที่รับผิดชอบชัดเจน ค) ง่ายในการบริหารจัดการและอำนวยความสะดวก
เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 28.93 ของสุ่มตัวอย่างตอบว่าไม่เห็นด้วย โดยมีเหตุผล
สนับสนุน อาทิเช่น ก) หาก อปท. ที่มีขนาดใหญ่เกินไป จะเกิดระยะห่างระหว่าง
ประชาชน ประชากรกลุ่มเล็กอาจถูกละเลย หรือไม่ได้รับการเหลียวแล บางท่านแสดง
ความเห็นว่า การปกครองท้องถิ่นควรยึดถือหลักความหลากหลาย ไม่ควรมีข้อจำกัด
ผลการสำรวจดังแสดงในตารางที่ 7.7
ตารางที่ 7.7 ปฏิกริยาต่อแนวความคิด “หนึ่งตำบลควรมีหนึ่ง อปท.”
แนวคิด “หนึ่งตำบลควรมีหนึ่ง อปท.” จำนวน ร้อยละ
1) เห็นด้วย 110 69.18
2) ไม่เห็นด้วย 46 28.93
3) ไม่ระบุ 3 1.89
รวม 159 100.00
ที่มา: ผลสำรวจโดยคณะวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
1 0 สถาบันพระปกเกล้า