Page 201 - 21211_fulltext
P. 201
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
กระบวนการควบรวมมีจำนวน 45 แห่ง ซึ่งโดยส่วนมากจะอยู่ในช่วงการปรึกษาหารือ
ไม่ถึงชั้นจริงจัง และยังพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่งได้มีการเตรียมการ
ควบรวมกับหน่วยงานใกล้เคียง หมายถึงการปรึกษาหารือกับ อปท. ที่มีพื้นที่ติดต่อกัน
หรือบริเวณใกล้เคียงกัน ผลการสำรวจแสดงในตารางที่ 7.4
ข้อมูลจากการสำรวจในคำถาม “ความคิดริเริ่มจะควบรวม อปท. ขนาดเล็ก
มาจากบุคคลกลุ่มใด” พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่มีความคิดริเริ่ม
ที่จะควบรวม จำนวน 106 แห่ง สำหรับ อปท. ที่ระบุว่า มีแนวความคิดริที่จะควบรวม
จำนวน 48 แห่ง พร้อมกับระบุว่า ได้ข้อเสนอแนะจากนักวิชาการในท้องถิ่น จากผู้นำ
ชุมชนและประชาชน ผลการสำรวจแสดงในตารางที่ 7.5
การสำรวจในคำถามที่ว่า “ท่านทราบว่ามีการควบรวม อปท. หรือไม่” พบว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่ทราบข่าวว่า มีการควบรวม อปท. แล้ว
จำนวน 61 แห่ง แต่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทราบข่าวการควบรวม อปท.
ในกรณีของอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง จำนวน 57 แห่ง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกรณี
วังเหนือ ลำปาง เป็นข่าวที่ปรากฎในสื่อมวลชนเมื่อปลายปีที่ผ่านมา (2560) สำหรับ
กรณีของอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เป็นการควบรวมก่อนหน้า (2553) ซึ่งเคย
เป็นข่าวในอดีต อย่างไรก็ตามพบว่ามีจำนวนหนึ่งจำเหตุการณ์ได้ กล่าวคือ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ระบุว่าเคยรับทราบข่าวการควบรวมของ เทศบาล และ
อบต. วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ผลการสำรวจดังแสดงในตารางที่ 7.6
ตารางที่ 7.3 การรับทราบข้อเสนอของ สปท. ให้ อปท. ขนาดเล็กควบรวม
การรับทราบข้อเสนอฯ ให้ อปท. ขนาดเล็กควบรวม จำนวน ร้อยละ
1) รับทราบ 139 87.42
1.1 ทราบจากเอกสารราชการ 17 -
1.2 ทราบจากคำบอกเล่าของข้าราชการระดับสูง 40 -
1.3 ทราบจากสื่อมวลชน 111 -
1.4 ทราบจากแหล่งอื่น ๆ 25 -
2) ไม่ทราบ 13 8.18
3) ไม่ระบุ 7 4.40
รวม 159 100.00
ที่มา: ผลสำรวจโดยคณะวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
1 สถาบันพระปกเกล้า