Page 70 - kpi21193
P. 70

การมีงานทำ) จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็น 1 ใน 5 กิจกรรม ที่องค์การ
                      บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีดำเนินการ ซึ่งทั้ง 5 กิจกรรมล้วนเป็นฐานข้อมูลและสามารถ

                      บูรณาการงานร่วมกันได้ เช่นการจัดทำฐานข้อมูลการศึกษา สามารถนำฐานข้อมูลที่มีมาช่วยตัดสิน
                      ใจในการดำเนินงานการพัฒนาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้  เป็นต้น


                            5. การคัดกรองเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้โดยครูในเบื้องต้น ช่วยลดภาระและลดระยะ
                      เวลาในการตรวจรับรองเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ของจิตแพทย์ เนื่องจากจิตแพทย์มีจำนวนน้อย
                      และมีภาระในการดูแลผู้ป่วยรายอื่นๆ


                            6. การเปิดโอกาสให้เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ได้แสดงความสามารถในการจัดแสดง         “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      ผลงานโรงเรียน/นักเรียน (Symposium) การประกวดและแข่งขันทักษะทางวิชาการเด็กบกพร่อง

                      ทางการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้มีโอกาสแสดงความสามารถ เกิดความ
                      ภาคภูมิใจทั้งเด็ก ผู้ปกครอง และครู

                      ปัจจัยความสำเร็จ


                            ปัจจัยความสำเร็จ ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning

                      Disability : LD)  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีดังนี้

                            1. ฝ่ายนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการสนับสนุนการดำเนินงาน

                      ที่เกี่ยวกับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง มีการสื่อสารให้สังคมรับรู้ ทั้งใน
                      ส่วนของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และประชาชนทั่วไป


                            2. กลุ่มสมัชชาการศึกษาที่มาช่วยงานด้านการสอนและนิเทศการสอนของครูที่รับผิดชอบ
                      การสอนเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้  ล้วนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการศึกษา มีองค์ความรู้ และ
                      เกษียณอายุราชการแล้ว   แต่ยังมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้อย่างเต็มที่

                      โดยไม่หวังผลตอบแทน                                                                     ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา

                            3. ทีมงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับ

                      เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ มีการทำงานเป็นระบบเป็นทีม และทำงานด้วยความขยันขันแข็ง
                      เห็นเป้าหมายในการพัฒนาการเรียนให้กับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นที่ตั้ง


                            4. ภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด
                      นวัตกรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับ
                      เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีประสบการณ์และ






                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า    1
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75