Page 74 - kpi21193
P. 74

กรณีตัวอย่าง         ผู้สูงอายุแล้วนั้น เทศบาลนครเชียงราย ยังมีแนวคิดด้านการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะเล็งเห็น
                      ถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยระบบการศึกษานั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวชี้วัดอนาคต

                      ของการพัฒนาเมืองและชุมชนได้ ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องให้ประชาชนได้เข้าถึงระบบ
                      การศึกษาอย่างทั่วถึง ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยจัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวัยที่สาม
                      นครเชียงราย” (University of the Third Age Chiang Rai City) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

                      เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุ มีการจัดความรู้ด้านสุขภาพโดย
                      ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสาธารณสุข มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี สังคม ขนบธรรมเนียม

                      ประเพณี วัฒนธรรมล้านนา เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว เพื่อมุ่งสู่สังคมผู้สูงอายุ     “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      เมืองแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเมืองแห่งความสุข อีกทั้งเพื่อหนุนเสริมพลังการดูแล
                      คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างรอบด้านนั้นยังเกิดโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาล

                      นครเชียงราย เพื่อเป็นแหล่งทุนในการทำกิจกรรมและขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
                      ระดับชุมชน ที่ชุมชนสามารถรวมกลุ่มกันเพื่อนำเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจาก

                      กองทุนฯได้ และโครงการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม เพื่อเป็นการทำงานดูแลผู้สูงอายุเชิงรุก
                      ทั้งผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้านและติดสังคม ซึ่งเป็นการเน้นให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัว
                      และเกิดการปรับตัวยอมรับการอยู่ร่วมกัน ระหว่างผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไปในครอบครัว และ

                      สังคมเป็นต้น

                            ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาแนวคิดการบริหารงานของเทศบาล

                      นครเชียงราย โดยทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานของเทศบาลนครเชียงรายด้วย
                      กรอบแนวคิด “การจัดการความรู้” และ “การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์” ซึ่งเป็นมุมมอง

                      การบริหารงานภาครัฐ สมัยใหม่ โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือเพื่อศึกษา
                      นวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และถอดบทเรียนภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร รวมถึง
                      วิธีปฏิบัติขององค์กรที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมของเทศบาลนครเชียงราย ในด้านการพัฒนาคุณภาพ

                      ชีวิตผู้สูงอายุ ซึ่งคาดหวังว่าการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อองค์กรปกครอง     ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                      ส่วนท้องถิ่นทั่วไปที่สามารถนำเอาแบบอย่างการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                      ที่ประสบความสำเร็จไปประยุกต์ใช้ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ของตน เพื่อให้
                      การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้ สภาวการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง และ
                      ที่สำคัญยังเป็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการปกครองท้องถิ่นของไทยให้ เป็นรากฐาน

                      ที่เข้มแข็งสำหรับการปกครองในระดับประเทศต่อไป

                            การวิจัยใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ

                      (Qualitative Research) ในส่วนของวิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ประเด็นศักยภาพ





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79