Page 77 - kpi21193
P. 77
ดังนั้นเทศบาลร่วมกับกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเกษียณอายุ ร่วมกับ
ภาคีเครือข่ายทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน ร่วมพัฒนามหาวิทยาลัยวัยที่สาม เพื่อเป็นศูนย์กลาง
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
การเรียนรู้พัฒนาคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุ
รูปภาพกิจกรรมมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย
2) โครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครเชียงราย เพื่อเป็นแหล่งทุน
ในการทำกิจกรรมและขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุระดับชุมชน ที่ชุมชนสามารถ
รวมกลุ่มกันเพื่อนำเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯได้
3) โครงการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทำงานดูแลผู้สูงอายุ
เชิงรุก ทั้งผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้านและติดสังคม ซึ่งเป็นการเน้นให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุโดย
ครอบครัวและเกิดการปรับตัวยอมรับการอยู่ร่วมกัน ระหว่างผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไปในครอบครัว
และสังคม เป็นต้น ประกอบด้วยโครงการต่างๆ ดังนี้ (1) โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ
ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ประกอบด้วย กิจกรรมการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา กิจกรรมการอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านการดูแลสุขภาพ 64 ชุมชน และกิจกรรมการจัด
อบรมอาสาสมัครประจำครอบครัวทั้ง 64 ชุมชน (2) ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ 5 โซน สืบเนื่องจาก
โครงการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนากระบวนการ
เรียนรู้และสังคมผู้สูงอายุเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสังคมของผู้สูงอายุ แต่ทั้งนี้เพื่อความครอบคลุม
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จึงมีการจัดศูนย์การเรียนรู้ประจำโซนพื้นที่ชุมชนในเขตเทศบาล
แบ่งตามโซนได้จำนวน 5 โซนขึ้น เพื่อรองรับการทำงานและกลไกการพัฒนาผู้สูงอายุในพื้นที่
อีกทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในโซนต่างๆ ที่ไม่สะดวกเข้ามาร่วมกิจกรรมกับ
มหาวิทยาลัยวัยที่สามได้ และ (3) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการเทศบาล
นครเชียงราย เพื่อศูนย์กลางในการดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย ในการฟื้นฟูสภาพ
การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รวมถึงธนาคารกายอุปกรณ์ อีกทั้งเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
สถาบันพระปกเกล้า