Page 64 - kpi21193
P. 64
ถูกต้องตามหลักวิชาการในสถานศึกษาที่มีความพร้อม 2) ครูไม่มีความรู้เรื่องการคัดกรองเด็ก
จึงคัดกรองได้ไม่แม่นยำ 3) ขาดครูผู้ดูแลเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ 4) จิตแพทย์มีน้อยไม่สามารถ
ตรวจรับรองได้ทันเวลา 5) ผู้ปกครองไม่ยอมรับ 6)โรงเรียนไม่ให้ความสนใจ 7) ศูนย์การศึกษา
พิเศษขาดบุคลากร งบประมาณ ห้องปฏิบัติการกระตุ้นพัฒนาการ และอุปกรณ์ 8) หน่วยงาน
ในพื้นที่ให้ความร่วมมือน้อย และ 9) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) อยู่ในเกณฑ์
ต่ำกว่ามาตรฐาน พร้อมทั้งมีการตั้งสมมติฐานที่ว่า “ถ้าเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับการแก้ปัญหา ต่อไปก็จะ
สร้างปัญหาให้กับสังคม”
2. ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายชัดเจน “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
มีการสนับสนุนและอนุมัติงบประมาณที่เกี่ยวกับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังได้นำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้บรรจุในแผน
การพัฒนา 4 ปี เพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนผู้บริหารขององค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่การดำเนินงานเกี่ยวกับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ยังสามารถ
ดำเนินงานต่อไปได้ ดังคำกล่าวเพิ่มเติมของปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ที่กล่าวไว้ว่า
“แม้ว่าหากมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร ทีมบริหาร แต่ข้าราชการประจำ
ต้องไม่ทิ้งสิ่งที่ทำมา ก็จะดำเนินงานต่อเนื่องไปได้”
4
“กระบวนการงบประมาณของ อบจ. จะเข้าแผนงาน จากแผนงานดึงมาเป็น
แผนเงิน เราจะแบ่งเป็นสองส่วน หนึ่ง อบจ. ดำเนินการเอง ก็จะเริ่มตั้งแต่ การจัด
ฝึกอบรมครู ดึงกลุ่มเป้าหมายมา เรื่องการคัดกรองเด็ก ก็ร่วมมือกับโรงพยาบาล
ก็จะมีเกณฑ์ตัวชี้วัด การคัดกรองการสร้างสื่อ ฯลฯ เราก็ดำเนินการมาทุกปี
ตั้งโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ อันนี้ที่ อบจ. ดำเนินการเอง” 5
“อบจ. ให้เงินอุดหนุนแก่ศูนย์การศึกษาพิเศษ เราให้งบไปประมาณ ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
4 ล้านกว่าในแต่ละปี เขาจะเอาเงินไปจ้างคุณครู แล้วคุณครูก็จะถูกส่งไปอบรม
ไปเป็นโครงการนำร่องไปแต่ละโรงเรียน” 6
4 ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, 16 พ.ค. 2562
5 ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, 16 พ.ค. 2562
6 ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, 16 พ.ค. 2562
สถาบันพระปกเกล้า