Page 63 - kpi21193
P. 63
ประชาชน/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีวิธีปฏิบัติในการประสานงานกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายใน
และภายนอกองค์กร โดยประสานงานกับองค์กรอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
โดยสร้างความเชื่อใจและความร่วมมือที่ดีเพื่อผลประโยชน์ในระยะยาว (มิใช่เฉพาะงานใด
งานหนึ่ง) ผอ./หัวหน้าฝ่าย มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจาก
การปฏิบัติงาน และมีวิธีปฏิบัติขององค์กรในการบริหารความสามารถพิเศษของบุคลากร มีการ
แบ่งปันความรู้ หากนายกฯ ได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานภายนอก นายกฯ มักจะนำความรู้
และประสบการณ์ที่ได้รับมาแบ่งปันแก่บุคลากรขององค์กร มักถ่ายทอดความรู้และทักษะแก่
บุคลากรที่ยังมีประสบการณ์น้อยด้วยการทำงานร่วมกัน และมีการมอบหมายงานให้บุคลากร
โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะและความก้าวหน้าทางอาชีพ
2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ
มีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วยการเรียนรู้จากความล้มเหลวในอดีต เพื่อไม่ให้
เสียความไว้วางใจจากประชาชน บุคลากรในองค์กรจะหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ในเรื่องที่อาจส่ง
ผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่ผิดกฎหมายก็ตาม มีการใช้
ความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญพิเศษ มาใช้ในการดำเนินงานหรือแก้ปัญหาขององค์กร
ให้ความสำคัญกับการศึกษา การตั้งสมมติฐานใหม่ และหานวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา แทนที่
จะใช้วิธีที่เคยมีอยู่ มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการระบุปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุ
และสร้างสรรค์แนวทางการแก้ไขปัญหา ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่าง
เคร่งครัด และผู้บริหารระดับกลาง (ผอ./หัวหน้าฝ่าย) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางแก้ไข
ปัญหาจากการปฏิบัติหน้าที่จริงและบริบทของแต่ละพื้นที่ ความสำเร็จของโครงการหรือนโยบาย
ควรเป็นผลงาน (เครดิต) ของทุกฝ่ายไม่เฉพาะคนใดคนหนึ่ง
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา ในการสร้างพื้นที่และความร่วมมือที่เอื้อให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างองค์ความรู้
3. ผู้นำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถ
ใหม่ สามารถสร้างความเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีปัญญาเชิงปฏิบัติ (องค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติ
ได้จริง) สามารถตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดี
การวิเคราะห์สาเหตุซึ่งเป็นที่มาของสมรรถนะองค์กรที่เป็นจุดแข็งขององค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าเกิดจาก
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวิธีปฏิบัติในการระบุปัญหา จากฐานข้อมูล
ที่มีอยู่ และจากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยพบว่าสภาพปัญหาของเด็กบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดจาก 1) ขาดการดูแลเรื่องการศึกษาอย่างเหมาะสม
สถาบันพระปกเกล้า