Page 264 - kpi21193
P. 264
2) วัฒนธรรมองค์กรที่เกี่ยวกับลำดับชั้นและการควบคุมที่มีลำดับชั้นสูง (Hierarchical)
ผลการศึกษาได้ค่าคะแนนร้อยละ 74 หมายความว่า บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่
เน้นการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งของผู้บังคับบัญชา พร้อมทั้งการปฎิบัติตาม
ยุทธศาสตร์และแผนงาน และในขณะเดียวกันบุคลากรในหน่วยงานยังสามารถทักท้วงพร้อมทั้ง
เสนอความคิดเห็นในการปฏิบัติหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบได้
3) วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับการใช้ความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญพิเศษ ที่ก่อให้
เกิดการสร้างนวัตกรรม (Innovative) มากกว่าการปฏิบัติตามธรรมเนียม (Conventional)
ผลการศึกษาได้ค่าคะแนนร้อยละ 85 หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่บริหารจัดการ “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
โดยเน้นการสร้างความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรในการทำงาน ด้วยการส่งเสริมการเพิ่ม
ศักยภาพบุคลากรและการรักษาบุคลากรที่มีประสบการณ์ไว้ (ความรู้ และประสบการณ์มักจะเกิด
จากการที่ผู้นำลงพื้นที่ด้วยตนเองทำให้ทราบสถานการณ์ที่แท้จริงได้ดีกว่าการนั่งอ่านรายงาน)
4) วัฒนธรรมการรักษาความสัมพันธ์ภายในองค์กรโดยองค์รวม (Collective) มากกว่า
ลักษณะส่วนตัวของบุคลากรแต่ละคน (Individualistic) ผลการศึกษาได้ค่าคะแนนร้อยละ 65
หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่เน้นการทำงานที่สร้างความสัมพันธ์ภายในระหว่างกัน
บุคลากรสามารถแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้เพื่อการหาฉันทาคติร่วมกัน สะท้อนออกมา
ในรูปของประชาธิปไตยในการทำงานนับเป็นสิ่งช่วยเสริมสร้างให้นวัตกรรมเกิดประสิทธิผลได้
5) วัฒนธรรมองค์กรที่มีอิสระและสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นเกิดจากการขับเคลื่อน
ภายใน (Internally-Driven) มากกว่า การขับเคลื่อนที่มาจากภายนอก (Externally-Driven)
ผลการศึกษาได้ค่าคะแนนร้อยละ 57.33 หมายความว่า การดำเนินงานได้เริ่มดำเนินการ
ขับเคลื่อนจากตัวองค์กรบริหารส่วนตำบลนาพู่ก่อนและทำการประสานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ด้วยทัศนะในการมองว่าต้องมีผลงานหรือผลลัพธ์ในการจัดกิจกรรม
6) วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของที่มีความมุ่งมั่น (Committed) มากกว่า ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
การทำงานตามสัญชาตญาณ (Detached) ผลการศึกษาได้ค่าคะแนนร้อยละ 89.33 หมายความว่า
บุคลากรองค์กรมีความมุ่งมั่น กระตือรือร้น รับผิดชอบในหน้าที่การงานมากกว่าการทำงานไป
เรื่อย ๆ อย่างไม่วางแผน
ด้านที่ 3 ศักยภาพความเป็นผู้นำ
เป็นการประเมินความสามารถของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ โดยผู้วิจัย
ได้สอบถามถึงศักยภาพความเป็นผู้นำจากบรรดาเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภายในองค์การบริหาร
ส่วนตำบลนาพู่ พร้อมกับการเก็บแบบสอบถามในเชิงปริมาณจากภาคประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
สถาบันพระปกเกล้า 2