Page 186 - kpi21193
P. 186

ประการหนึ่ง นั่นคือ ความสามารถในการประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ
                      ภาคเอกชน และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ ดังจะเห็นได้จากนวัตกรรม

                      “การจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม” ที่องค์กรได้อาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                      ทุกฝ่าย เพื่อแก้ปัญหาขยะในชุมชนได้เป็นอย่างดี


                                1.3  วิถีแห่งการเติบโตขององค์กร

                                  วิธีการปฏิบัติที่สร้างความเติบโตขององค์กรที่เป็นจุดแข็งหรือปัจจัยความสำเร็จ

                      ของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ในการขับเคลื่อนนวัตกรรม “การจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม”
                      มี 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก “วิธีปฏิบัติในการเรียนรู้ขององค์กร” เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์    “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      มักจะนำผลการประเมิน ข้อมูลสถิติ หรือประสบการณ์ที่ผ่านมา มาปรับใช้ในการดำเนินงาน

                      ขององค์กร อีกทั้งยังมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ดังเห็นได้จากนวัตกรรม
                      “การจัดการขยะชุมชนอย่างมีส่วนร่วม” เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้อาศัยข้อมูลและสถิติมาใช้ใน

                      การวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาขยะในพื้นที่และความสามารถในการรองรับปริมาณขยะในพื้นที่
                      ประการที่สอง “วิธีปฏิบัติในการเปลี่ยนแปลงองค์กร” นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
                      มักแสดงความเป็นผู้นำในการริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ

                      องค์กร มีการปรับปรุงวิธีการดำเนินงานและทบทวนประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรอย่าง
                      สม่ำเสมอ และประการที่สาม “วิธีปฏิบัติในการบริหารความสามารถของบุคคล” เทศบาลเมือง

                      กาฬสินธุ์มักมอบหมายงานให้บุคลากรขององค์กรได้พัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญในสายงาน
                      เช่น การมอบหมายให้บุคลากรไปปฏิบัติงานในชุมชนด้วยตนเอง เพื่อให้บุคลากรได้มีประสบการณ์
                      ตรงเกี่ยวกับการแก้ปัญหาชุมชนและสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้ในพื้นที่ นอกจากนี้เทศบาล

                      เมืองกาฬสินธุ์ยังถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมให้แก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร
                      เพื่อให้การดำเนินงานนวัตกรรมเกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางในพื้นที่


                            2. วัฒนธรรมองค์กร                                                                ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา

                              วัฒนธรรมองค์กร สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัฒนธรรมองค์กรที่เกี่ยวกับ

                      กระบวนการทำงาน (Functionalization) และกลุ่มวัฒนธรรมองค์กรที่เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ในการ
                      ปฏิบัติงาน (Communalization) ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยวัฒนธรรม 3 ด้าน ดังนี้















                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191