Page 182 - kpi21193
P. 182
จากการลดปริมาณขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้ปริมาณ
59.37 ตันต่อวัน สามารถคิดเป็นคาร์บอนเครดิตได้ 38.15 ตันคาร์บอนไดออกไซค์
ต่อวัน หรือ 13,924.75 ตันคาร์บอนไดออกไซค์ต่อปี
นอกจากนี้ความสำเร็จที่เกิดจากนวัตกรรม “การจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม”
ได้ก่อให้เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการจัดการขยะในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่าง
การดำเนินงานของเครือข่ายการจัดการขยะชุมชนให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
๏ หมู่บ้านต้นแบบ “ชุมชนไร้ถังขยะ” โดยมีการทำกิจกรรมคืนถังขยะให้กับเทศบาล
และทำกิจกรรมผ้าป่าขยะ มีการจัดตั้งกลุ่มรับซื้อขยะรีไซเคิลในหมู่บ้านต้นแบบ “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ผ่านกองทุนจิตอาสาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์เดือนละ 1 ครั้ง จากนั้นกองทุนจิตอาสา
ดังกล่าวก็จะนำขยะไปขายให้กับผู้รับซื้อขยะ สามารถนำรายได้จากขยะกลับคืนสู่
ชุมชน นอกจากนี้ในชุมชนยังได้นำขยะอินทรีย์จากครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักจากขยะ
อินทรีย์ เพื่อนำไปใช้เพาะปลูกผักสวนครัวในชุมชนต่อไป ซึ่งผลสำเร็จจากการดำเนิน
กิจกรรมหมู่บ้านต้นแบบ “ชุมชนไร้ถังขยะ” สามารถลดปริมาณขยะในชุมชนได้ถึง
1.7 ตันต่อสัปดาห์ และสามารถส่งคืนถังขยะให้กับเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ 60 ใบ
๏ กองทุนจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม สมาชิกของกองทุนจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ได้ทำกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในแต่ละชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีการรับซื้อ
ขยะรีไซเคิลจากชุมชนไปขายให้กับผู้รับซื้อขยะ ทำให้ประชาชนในชุมชนและสมาชิก
มีรายได้จากการขายขยะ นอกจากนี้ยังมีการอบรมการเลี้ยงไส้เดือนดิน เพื่อใช้
สำหรับการย่อยขยะอินทรีย์
๏ อบรมเครือข่ายให้ขยายกิจกรรมในพื้นที่ ภายหลังจากการลงนามข้อตกลงร่วมกัน
กับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้มีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหาร
จัดการขยะชุมชนภายใต้โครงการการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม โดยการ ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
สนับสนุนให้เกิดชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการขยะชุมชน และเผยแพร่
การจัดการขยะชุมชนในครัวเรือน โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิทยากร
สถาบันพระปกเกล้า ในการให้ความรู้และสาธิตการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการขยะชุมชนไปสู่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม
สถาบันพระปกเกล้า 1