Page 181 - kpi21193
P. 181
๏ ภาคประชาชน เริ่มต้นจากการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน
และถ่ายทอดสู่สมาชิกในครอบครัวให้ช่วยกันคัดแยกขยะและลดปริมาณขยะที่จะ
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ต้องนำไปกำจัด
๏ หน่วยงานภาครัฐ เป็นหน่วยประสานงานข้อมูล พัฒนาองค์ความรู้ และ
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูล ตลอดจน
สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายเพิ่มขึ้น
๏ หน่วยงานการศึกษา เริ่มต้นจากโรงเรียนในสังกัดเทศบาลพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้
ให้แก่เยาวชนได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ส่งเสริมให้เยาวชนนำความรู้
กลับไปถ่ายทอดและปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
๏ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ สามารถนำข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้กลับไป
ประยุกต์ใช้ในการลดปริมาณขยะในพื้นที่ของตนเอง
3. ความสำเร็จ
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้จัดประชุมเพื่อร่วมกันวิเคราะห์
ข้อมูลการลดปริมาณขยะในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกภาคส่วนเกิดความตระหนักในการมี
ส่วนร่วมลดปริมาณขยะ ซึ่งผลการดำเนินดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นความสำเร็จของการแก้ปัญหาขยะ
ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ได้ดังนี้
1) สามารถเพิ่มเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้าร่วมการลดปริมาณขยะ
ในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุมทุกแห่ง (หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ขององค์กรปกครอง
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา 2) ปริมาณขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่นำมาร่วมกำจัดกับเทศบาล
ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่)
เมืองกาฬสินธุ์มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มีแนวโน้มปริมาณขยะลดลง จำนวน 22 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มีแนวโน้มปริมาณขยะคงที่ จำนวน 10 แห่ง
3) ปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ลดลง โดยวิเคราะห์จากปริมาณขยะรีไซเคิลที่ไม่ต้องนำ
ไปกำจัด มีปริมาณรวม 95.44 ตันต่อวัน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
61.33 ตันคาร์บอนไดออกซ์ต่อวัน หากเปรียบเทียบการลดปริมาณขยะของเทศบาล
เมืองกาฬสินธุ์ได้ปริมาณ 36.07 ตันต่อวัน สามารถคิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิตได้
23.18 ตันคาร์บอนไดออกไซค์ต่อวัน หรือ 8,460 ตันคาร์บอนไดออกไซค์ต่อปี และ
1 2 สถาบันพระปกเกล้า