Page 183 - kpi21193
P. 183

สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                        การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาตามกรอบแนวคิดสมรรถนะองค์กร (Organizational Capacity)
                  ซึ่งประกอบไปด้วยสมรรถนะหลัก 3 ประการ ตัวชี้วัด 131 ข้อ ได้แก่ 1) วิธีปฏิบัติขององค์กร

                  (Organizational Practices) มีตัวชี้วัดจำนวน 65 ข้อ 2) วัฒนธรรมองค์กร (Organizational
                  Culture) มีตัวชี้วัดจำนวน 36 ข้อ และ 3) ภาวะผู้นำ (Leadership Capacity) มีตัวชี้วัดจำนวน
                  30 ข้อ


                        การศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก
                  กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ จำนวน 50 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มประชาชนในพื้นที่

                  และ 2) ตัวแทนบุคลากรของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ นอกจากนี้ยังได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก
                  บุคลากรของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการนวัตกรรม โดยผู้วิจัยมีเกณฑ์

                  ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างบุคลากร 3 ประการ คือ 1) เป็นผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ
                  การของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ 2) กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมานั้นต้องกระจายตัวอยู่ในทุกส่วนงาน
                  ขององค์กร และ 3) เป็นบุคลากรที่ทำงาน ณ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี

                  สำหรับกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชนนั้นได้คัดเลือกจากประชาชนที่เคยเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมในการ
                  ดำเนินโครงการกับเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                        ๏ นายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ จำนวน 1 ตัวอย่าง
                        ๏ รองปลัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จำนวน 1 ตัวอย่าง
                        ๏ ผู้อำนวยการกอง/สำนัก จำนวน 3 ตัวอย่าง

                        ๏ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ จำนวน 5 ตัวอย่าง
                        ๏ ประชาชน จำนวน 40 ตัวอย่าง
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   ขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร และศักยภาพความเป็นผู้นำ ในการขับเคลื่อนนวัตกรรม

                        ผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงสมรรถนะที่เป็นจุดแข็งขององค์กรทั้งในด้านวิธีปฏิบัติ


                  “การจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม”  ดังรายละเอียดต่อไปนี้


                        1. วิธีปฏิบัติขององค์กร

                          การศึกษาวิธีปฏิบัติขององค์กร (Organizational Practices) มีการวัดองค์ประกอบ

                  หลัก 3 ด้าน ได้แก่ วิถีแห่งนวัตกรรม (Ways of Innovation) วิถีแห่งการดำเนินงาน (Ways of
                  Operation) และวิถีแห่งการเติบโต (Ways of Growth) ผลการศึกษาของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

                  พบว่า วิถีแห่งการเติบโต มีค่าคะแนนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 86.11 รองลงมาเป็นวิถีแห่งนวัตกรรม
                  คิดเป็นร้อยละ 83.77 และวิถีแห่งการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 82.11 ตามลำดับ




                1     สถาบันพระปกเกล้า
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188