Page 185 - kpi21193
P. 185

1.1  วิถีแห่งนวัตกรรม

            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                              วิธีปฏิบัติขององค์กรที่ถือเป็นจุดแข็งและเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของเทศบาล
                  เมืองกาฬสินธุ์จนสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรม “การจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม”
                  มี 2 ประการที่โดดเด่นคือ ประการแรก “ความสามารถในการระบุปัญหา” ว่าอะไรคือปัญหา

                  ที่แท้จริงในพื้นที่ และประการที่สอง “การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา” ซึ่งผลการศึกษา
                  ได้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อมีปัญหาการทำงานภายในองค์กร บุคลากรขององค์กรมักเปิดอกพูดคุยกัน
                  เพื่อขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีการสื่อสารระหว่างบุคลากร

                  ภายในองค์กรผ่านการจัดประชุมประจำเดือน เพื่อรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก
                  องค์กร ตลอดจนการเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในองค์กรได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมใน

                  การนำเสนอโครงการ/กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ขณะที่การแก้ปัญหาภายนอกองค์กร
                  มักอาศัยวิธีการลงพื้นที่พูดคุยกับประชาชน/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบจากการ
                  ดำเนินงานขององค์กร เพื่อทำความเข้าใจความรู้สึก/มุมมอง/ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ

                  องค์กรและการดำเนินนโยบายขององค์กร ผ่านการสื่อสารขององค์กรในหลากหลายช่องทางไม่ว่า
                  จะเป็น เฟซบุ๊ค (Facebook) แอพลิเคชั่นไลน์ (Line) โทรศัพท์ และการลงประชาคมในพื้นที่

                  ชุมชน สิ่งเหล่านี้จึงสะท้อนให้เห็นวิธีการปฏิบัติของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ที่เอื้อให้เกิดนวัตกรรม
                  การทำงานแบบมีส่วนร่วม ดังสะท้อนให้เห็นได้จากนวัตกรรม “การจัดการขยะชุมชนแบบมี
                  ส่วนร่วม” ที่เกิดจากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนที่เข้าใจปัญหา เข้าถึงความต้องการ และ

                  สามารถนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนได้อย่างมีส่วนร่วม

                            1.2  วิถีแห่งการดำเนินงาน


                              วิธีปฏิบัติขององค์กรที่เป็นจุดแข็งหรือปัจจัยแห่งความสำเร็จของเทศบาล
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   เมืองกาฬสินธุ์ในการขับเคลื่อนนวัตกรรม “การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม” มี 2 ประการที่มี

                  ความโดดเด่น คือ ประการแรก “วิธีปฏิบัติในการควบคุมการดำเนินงาน” พบว่า บุคลากร

                  ในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มักจะยึดถือวิสัยทัศน์ขององค์กรเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน มีการ
                  ประเมินผลงานของบุคลากรออกมาเป็นค่าคะแนน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติงานที่มุ่ง

                  ผลสัมฤทธิ์ มีการกำหนดรายละเอียดลักษณะงานของแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีคู่มือ
                  การปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้บุคลากรสามารถเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานในเบื้องต้นได้  และ
                  ประการที่สอง “การประสานงานระหว่างภาคส่วนต่างๆ” พบว่า บุคลากรในองค์กรมักทำงาน

                  กันเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยไม่แบ่งแยกภารกิจและความรับผิดชอบส่วนบุคคล และ
                  เมื่อเกิดปัญหาหรือความขัดแย้งในการทำงานจะมีผู้อำนวยการ/หัวหน้าฝ่ายที่เข้ามามีบทบาท

                  สำคัญในการตัดสินใจและจัดการกับสถานการณ์นั้น นอกจากนี้เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีความโดดเด่น




                1     สถาบันพระปกเกล้า
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190