Page 180 - kpi21193
P. 180

32 ตันต่อวัน แต่ไม่สามารถรองรับการกำจัดขยะจากกลุ่มพื้นที่ อปท. ข้างเคียงที่มีปริมาณขยะ
                      มากถึง 35 ตันต่อวันได้ ทำให้แนวคิดการสร้างบ่อกำจัดขยะดังกล่าวไม่สามารถรองรับและ

                      กำจัดขยะในเมืองกาฬสินธุ์ที่มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 67 ตันต่อวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิด
                      การสะสมของปริมาณขยะในพื้นที่ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2558 เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์จึงหาแนวทาง
                      แก้ไขปัญหาขยะโดยเริ่มตั้งแต่ในระดับชุมชน มีการระดมความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ทั้ง

                      หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมาร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาขยะ
                      ในพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากการขอความร่วมมือทุกภาคส่วนให้ลดปริมาณขยะจากต้นทาง

                      และสร้างภาคีเครือข่ายในชุมชนให้เป็นกลไกช่วยขับเคลื่อนการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม    “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น

                            2. กระบวนการดำเนินงาน


                              กระบวนการสร้างเครือข่ายของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูล
                      สภาพพื้นที่เมืองกาฬสินธุ์ ปริมาณขยะ และความสามารถในการรองรับขยะในพื้นที่ พบว่า องค์กร

                      ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่มีจำนวน 27 แห่ง ที่นำขยะมากำจัดร่วมกันกับเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
                      โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 25 แห่งจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด
                      ที่มีแนวโน้มปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ต้นทุนการกำจัดขยะและความสามารถในการรองรับ

                      ขยะในพื้นที่ทั้งหมดกลับไม่เพียงพอ จึงนำมาสู่วิธีคิดเรื่องการลดปริมาณขยะ โดยการสร้าง
                      เครือข่ายที่ขับเคลื่อนการจัดการขยะชุมชนที่ต้นทาง ดังนี้


                               1)  เครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มคนรักถุง ชุมชนไร้ถัง กองทุนจิตอาสา
                                  พัฒนาสิ่งแวดล้อม กลุ่มอสม. กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเจ้าหน้าที่เทศบาล โรงเรียนในเขต

                                  เทศบาล ตลาด ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

                               2)  การสนับสนุนองค์ความรู้ในการจัดการขยะ ได้แก่ สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัย
                                  กาฬสินธุ์


                               3)  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่   ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                                  จำนวน 32 แห่ง


                              การดำเนินงานของภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการจัดการขยะในพื้นที่กาฬสินธุ์ สามารถแบ่ง
                      การดำเนินงานออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้


                               ๏ ภาคเอกชน เริ่มต้นจัดการขยะภายในองค์กรของตนเอง เพื่อลดปริมาณขยะที่จะต้อง
                                  ส่งต่อไปยังสถานที่กำจัดขยะ มีการจัดอบรมบุคลากรเรื่องการคัดแยกขยะในองค์กร
                                  ของตนเอง





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1 1
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185