Page 178 - kpi21193
P. 178
4. โครงสร้างการเงินการคลัง 33
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีรายได้มาจากการจัดเก็บภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง รายได้จาก
ภาษีที่รัฐบาลจัดสรรให้ รายได้ที่รัฐแบ่งให้ และเงินอุดหนุน ซึ่งในปี พ.ศ. 2562 เทศบาลเมือง
กาฬสินธุ์มีรายได้รวมทั้งสิ้น 283,364,956.83 บาท หากเปรียบเทียบกับรายได้รวมของเทศบาล
เมืองกาฬสินธุ์กับปี พ.ศ.2561 พบว่ามีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.13 โดยรายได้จาก
เงินอุดหนุนมีสัดส่วนมากที่สุด รองลงมาเป็นรายได้จากภาษีที่รัฐจัดสรรให้ และสุดท้ายเป็นรายได้
จากการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่นเอง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562)
ขณะที่รายจ่ายของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 269,327,270.04 บาท “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
และหากเปรียบเทียบรายจ่ายรวมของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับปี พ.ศ. 2561 พบว่ามีสัดส่วน
รายจ่ายเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 11.73 หากพิจารณาการจัดสรรงบประมาณของ
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์สำหรับพัฒนาพื้นที่ในแต่ละด้านนั้น พบว่า เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้จัดสรร
งบประมาณรายจ่ายด้านบริการชุมชนและสังคมในสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 58 รองลงมาเป็น
งบประมาณด้านการบริหาร ร้อยละ 20 ส่วนด้านอื่นๆ นั้นมีสัดส่วนร้อยละ 16 และสุดท้าย
เป็นด้านเศรษฐกิจมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 6 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด (ข้อมูล ณ วันที่
30 มิถุนายน 2562)
แผนภาพที่ 1 แสดงสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์เพื่อการพัฒนา
ในด้านต่างๆ
ที่มา : เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2563” สืบค้นจากเว็บไซต์ http:// ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
www.kalasin-mu.go.th/sj/images/pdf/tpaman2563.pdf เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563.
33 เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2563” สืบค้นจากเว็บไซต์ http://
www.kalasin-mu.go.th/sj/images/pdf/tpaman2563.pdf เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563.
สถาบันพระปกเกล้า 1