Page 272 - kpi21190
P. 272

272



                     4.  เยาวชนอายุ 15-17 ปีที่ไม่ศึกษาต่อมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. หรือ กศน.

               หลังสำเร็จการศึกษาภาคบังคับอันเนื่องมาจากปัญหาความยากจน ประมาณ 240,000 คน

                     5.  ครูในพื้นที่ห่างไกลและครูผู้ดูแลเด็กเยาวชนกลุ่มเป้าหมายข้างต้น

                     6.  เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์อายุ 18-25 ปีที่ไม่ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ปวส.

               หรือ กศน. หลังสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเนื่องมาจากปัญหาความยากจน

                     ปัจจุบันกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่จัดตั้งขึ้นตาม พรบ.กองทุน
               เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 54
               ได้นำเอากรอบการจัดกลุ่มเป้าหมายของ กอปศ. เพื่อการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาใน

               ประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนอย่างยั่งยืน

               4. “ปวงชนเพื่อการศึกษา” (All for Education): หลักการแก้ไขความเหลื่อมล้ำ
               ทางการศึกษาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือกุญแจสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนตาม

               เป้าหมาย SDG4

                     รายงานการศึกษาขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง  ได้สังเคราะห์และทบทวน
                                                                         3
               ประสบการณ์ที่ผ่านมาของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาพบว่า หนึ่งในบทเรียน

               ที่สำคัญยิ่งคือ การพึ่งพากลไกภาครัฐแต่ลำพัง ไม่สามารถจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง
               การศึกษาให้หมดไปได้ การแก้ไขปัญหานี้ให้สำเร็จอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก
               ภาคส่วน ด้วยแนวคิดปวงชนเพื่อการศึกษาหรือ (All for Education) ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
               ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เฉพาะมิติงบประมาณเท่านั้น

               แต่รวมถึงมิติเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศ การบูรณาการการทำงาน การติตามและ
               ประเมินผล ฯลฯ เพื่อให้ทุกภาคส่วนช่วยกันออกแบบหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน
               และหนึ่งในแนวทางที่เป็นวาระซึ่งทั่วโลกกำลังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง คือ การปฏิรูป
               การศึกษาเชิงพื้นที่ Area Base Education Reform (ABE) ที่ใช้กระบวนการทำงานเชิงพื้นที่

               ระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยขบวนการดังกล่าว
               ในเครือข่ายขององค์การยูเนสโกใช้ชื่อว่าเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของโลก (Global
               Network of Learning Cities: GNLC)  ซึ่งปัจจุบันมีเมืองทั่วโลกมากกว่า 200 แห่งได้เป็น
                                                   4
               สมาชิกของเครือข่ายนี้ โดยประเทศไทยมีเทศบาลนครเชียงรายเป็นหนึ่งในสมาชิก


                     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อได้เปรียบหลายประการในการสนับสนุนการปฏิรูป
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4        3 4   https://www.unicef.org/publications/index_78718.html
               การศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้สำเร็จและยั่งยืนได้จริง เมื่อเทียบกับการดำเนิน





                     http://uil.unesco.org/lifelong-learning/learning-cities
   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277