Page 275 - kpi21190
P. 275
275
สิ ธิเพ หลา หลาย า ะพลเมือง
ละความต้อง ารสว สดิ ารส งคม
เคท ครั้งพิบูลย์*
การกล่าวถึง “เพศ” (sex) ในแง่ของชีวะวิทยา (biological sex)
เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึงเมื่อพูดถึงเรื่องของเพศ อย่างไรก็ตามการคิดถึง
เรื่องเพศในทางชีววิทยานั่นเองคือปัญหาหลักในการทำความเข้าใจเรื่องเพศที่นับ
วันยิ่งหลากหลาย และซับซ้อนในแง่ของเพศสภาพ เพศสภาวะ ซึ่งจะทำให้เกิดถึง
ความเหลื่อมล้ำทางเพศได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สาระการศึกษาของเพศสภาวะ (gender) มีความหมายที่แท้จริงในเรื่องของ
การเข้าใจเพศภาพ ซึ่งพอพูดถึงสิ่งเหล่านี้แล้ว มักจะมองในเรื่องถึงความเท่าเทียมในเรื่อง
ของเพศด้วย มีความเท่าเทียมทางเพศหรือไม่ สิ่งที่พูดถึงจึงเป็นเรื่องสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ในเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ หน่วยในการวิเคราะห์ในการวิเคราะห์เพศสภาพ/เพศสภาวะ
นั่นคือสังคมยังไม่มีความเท่าเทียมทางเพศ อย่างไรก็ตามเมื่อมองย้อนกลับไปยังเรื่องเพศ
จะพบว่าคนเรานั้นถูกหล่อหลอมกันผ่านครอบครัวเป็นดังวัฒนธรรม ที่ปลูกฝังด้วยความไม่เป็น
ทางการผ่านทั้งครอบครัว ชุมชนสังคม และวัฒนธรรม ทั้งถูกปลูกฝังผ่านรัฐอย่างเป็นทางการ
เช่น ระบบการศึกษา ผู้หญิงมีหน้าที่ในแบบผู้หญิง ผู้ชายมีหน้าที่ในแบบของผู้ชาย สิ่งเหล่านี้
ทำให้คนเข้าใจเรื่องเพศว่ามันมีบทบาทถูกมัน ถูกแบ่งแยก และถูกควบคุมทางเพศ ผ่านสังคม
และการศึกษาอย่างเป็นระบบ
ในตัวอย่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มีความน่าสนใจและเปิดกว้างในเรื่องของเพศสภาพ
เป็นอย่างมาก ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 วรรค 3 ได้กล่าวถึง การเลือกปฏิบัติทางเพศจะกระทำ
มิได้ และคำว่าเพศไม่ได้มีความหมายในแง่ของเชิงชีววิทยาเท่านั้น (biological sex)
* อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์