Page 276 - kpi21190
P. 276

276



               แต่เป็นการพูดถึงเพศในทางวัฒนธรรมและสังคมด้วย เช่น การพูดถึงอัตลักษณ์ทางเพศ หรือ

               เพศสภาพ (sexual identity/ gender identity) หรือรสนิยมทางเพศที่มีความหลากหลาย
               (sexual orientation) ซึ่งรสนิยมทางเพศไม่ได้ยึดโยงกับอัตลักษณ์ทางเพศ (sexual identity)
               ความเปิดกว้างในการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทำให้การรับรู้เรื่องเพศนั้นมีความเปิดกว้าง
               ซึ่งมันได้ขยายไปสู่การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ อย่างไรก็ตามในรัฐธรรมนูญปี 2560

               ความหมายของคำว่า “เพศ” กลับกลายมาเป็นแบบเดิม คือในแง่ของเพศในทางชีววิทยา
               เท่านั้น กล่าวคือมีการเขียนเพียงบุคคลย่อมเสมอกัน ชายหญิงเท่าเทียมกัน ซึ่งทำให้คนหลาย
               คนที่ไม่สามารถถูกจัดวางว่าเป็นชายหรือหญิงถูกตัดสินจากเพศของเขาเนื่องจากความเชื่อว่า
               โลกนี้มีสองเพศ การกล่าวอ้างเบื้องต้นทำให้คนที่อยู่นอกกล่องเพศในทางชีววิทยา เช่น เกย์

               เลสเบี้ยน กระเทย ทอม คนข้ามเพศ ฯลฯ กลายเป็นคนที่แตกต่าง ถูกกีดกัน และเลือกปฏิบัติ
               ด้วยเหตุแห่งเพศ เนื่องจากคนยังขาดความรู้ในเรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย
               ซึ่งทำให้ต้องคิดกันต่อว่าระบบการศึกษาไทยนั้นสอนให้คนเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ
               มากแค่ไหน เนื่องจากคนเหล่านี้ถูกทำให้เป็นชายขอบ ไม่สามารถเข้ามาอยู่ในศูนย์กลางทาง

               สังคมได้ และนำมาซึ่งการถูกเลือกปฏิบัติ อันนำมาสู่การสร้างทัศนคติด้านลบในภาพลักษณ์
               ภายนอก และสร้างมายาคติต่อคนที่เป็นเพศที่สาม จนก่อให้เกิดการปฏิบัติต่อเพศที่สาม
               ไม่ดีนัก

                     ในรายงานวิจัยเรื่อง “Social Experience of Trans-people in Thailand” พบว่าเพศที่สาม

               พบเจอปัญหาหลักสองประการ คือ 1.) การยอมรับจากครอบครัว เนื่องจากไม่ถูกยอมรับ
               ถูกกดดันจากครอบครัว 2.) โอกาสทางด้านศึกษา คนเหล่านี้ไม่อยากอยู่ในการศึกษาที่อยู่ใน
               ระบบ เนื่องจากถูกครอบด้วยความคิดว่าเพศมีเพียงชายและหญิง (binary system) ที่ชัดเจน
               ทำให้การอยู่ในกรอบของโรงเรียนมีความลักลั่นและไม่มีความสุข


                     จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าปัญหาหลักคือเมื่อสังคมไม่ยอมรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย
               ทางเพศ คนทำนโยบายของรัฐไม่ได้ยอมรับและยังไม่เข้าใจ กรอบงานของรัฐยังเอื้อแค่เพศ
               สองเพศเท่านั้นสิ่งเหล่านี้ ก่อให้เกิดช่องว่างในการสร้างเสริมสิทธิของคนข้ามเพศ จนกลายเป็น
               ความเหลื่อมล้ำทางเพศขึ้น ดังนั้นในการสร้างนโยบายภาครัฐใด ๆ หากขาดความละเอียดอ่อน

               ในเรื่องทางเพศ/วัฒนธรรมความเป็นเพศ ในแง่ของโครงสร้างทางสังคม ความลื่นไหลทางเพศ
               กล่องความเป็น ก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้น เพราะสิทธิในการนิยามตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งใน
               สังคมไทยพบว่าอำนาจทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศาสนา ยังมีอำนาจในการกำหนดนโยบาย

               ที่ยังกีดกันความเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศอยู่ ซึ่งหากประชากรที่อยู่ในประเทศ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4   เหล่านี้จะถูกแก้โดยประชาชนหรือนโยบายจากระดับบนของรัฐ เป็นคำถามที่อาจารย์ทิ้งไว้ให้
               ไม่ได้แค่เพียงชายหรือหญิงแบบที่ถูกจัดวางในกล่องเพศแล้ว ปัญหาจะถูกแก้โดยใคร ปัญหา


               ทุกคนขบคิดต่อ
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281