Page 277 - kpi21190
P. 277
277
ความ ้าวห ้า
ส งคมเสมอภาค งหว ดชาย ด ภาค ต้
กนกรัตน์ เกื้อกิจ*
จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าประกอบด้วยห้าจังหวัด คือนราธิวาส สงขลา
ปัตตานี ยะลา และสตูล ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่าสี่ล้านคน เป็นผู้หญิง
เกินกว่าครึ่งหนึ่ง และมีเด็กและเยาวชนจำนวนกว่าสี่ล้านคน หรือประมาณร้อยละ
29 ของประชากรทั้งหมดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้จังหวัดนราธิวาสและ
ปัตตานีนับว่าเป็นจังหวัดลำดับต้น ๆ ที่ได้รับเงินอุดหนุนของรัฐบาลจากสวัสดิการ
ของเด็กแรกเกิดของกรมปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงนัยยของ
ผู้หญิงในพื้นที่นั้นไม่สามารถเข้าถึงการคุมกำเนิดได้ และมีฐานะที่ยากจนไม่สามารถ
เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพได้
จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการออกกฎหมายฉบับหนึ่ง คือพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้
กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล กฎหมายฉบับนี้มีใจความ
สำคัญครอบคลุมด้านครอบครัวและมรดก ซึ่งตามหลักการของอิสลามแล้วผู้ชายมักจะได้รับ
อภิสิทธิ์เหนือกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะเรื่องการการแต่งงาน (การนิกะห์) ของเด็กผู้หญิง ผู้หญิง
เมื่อมีประจำเดือนนั่นแสดงว่ามีความพร้อมในการแต่งงานและพร้อมมีครอบครัวแล้วในหลัก
ของศาสนา ทำให้เกิดปัญหาการบังคับแต่งงานของเด็กผู้หญิงในพื้นที่ ดังเช่น กรณีเด็กหญิง
อายุ 11 ปี แต่งงานเป็นภรรยาคนที่ 3 ของชายชาวมาเลเซียอายุ 44 ปี ปัญหาความรุนแรง
เชิงโครงสร้างที่ถูกซุกไว้ใต้พรมนี้ทำให้ภาคประชาสังคมผู้หญิงได้รวมตัวกันจัดแคมเปญ
เวทีอภิปราย เวทีสัมมนา ในเรื่องดังกล่าว ทั้งยังได้ยื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
* นักพัฒนาสังคมเชี่ยวชาญ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวง
การพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ ปฏิบัติราชการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)