Page 67 - kpi20902
P. 67

66



              แหล่งวิทยากรที่จะใช้ในโครงการ  3) การมีส่วนร่วมในขั นตอนการด้าเนินโครงการ ท้าประโยชน์ให้แก่

              โครงการ  โดยร่วมช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์  วัสดุอุปกรณ์  และแรงงาน  4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล

              โครงการเพื่อให้รู้ว่าผลจากการด้าเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ก้าหนดไว้หรือไม่ โดยสามารถก้าหนด

              การประเมินผลเป็นระยะต่อเนื่องหรือประเมินผลรวมทั งโครงการในคราวเดียวก็ได้


                         ประพันธ์  สร้อยเพ็ชร (2547)  ได้กล่าวว่า  การมีส่วนร่วมที่แท้จริงน่าจะประกอบด้วย 4 ขั นตอน

              หลัก คือ 1) การค้นหาปัญหา และสาเหตุ  2) การวางแผนด้าเนินกิจกรรม  3) การลงทุนและการปฏิบัติงาน

              4) การติดตามและประเมินผล  ในขณะเดียวกัน ส้านักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2548) ได้ชี ให้เห็น

              ถึงประเด็นส้าคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีความลึกลงไปอีก ได้แก่ 1) การตัดสินใจและผลกระทบที่

              ส้าคัญ  2) การตัดสินใจจะมีผลกระทบต่อบางคนมากกว่าคนอื่น  3) การตัดสินใจจะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์

              ของบางคนหรือกลุ่มคนที่มีอยู่เดิม  4) การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีความขัดแย้งอยู่ก่อนแล้ว  5) ความ

              จ้าเป็นเพื่อให้มีการสนับสนุนต่อผลการตัดสินใจ  ส่วน อคิน  รพีพัฒน์ (2547) ได้แบ่งขั นตอนการมีส่วนร่วม

              ออกเป็น 4  ขั นตอน  คือ 1) การก้าหนดปัญหา  สาเหตุของปัญหา  ตลอดจนแนวทางแก้ไข  2) การตัดสินใจ

              เลือกแนวทางและวางแผนพัฒนา แก้ไขปัญหา  3) การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาตามแผน  4) การ

              ประเมินผลงานกิจกรรมการพัฒนา


                         ทรงวุฒิ  เรืองวาทศิลป์ (2550)  ได้ท้าวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ได้ใช้หลักการ

              ที่อิงไปในแนวทางของนโยบาย และได้พบว่า แท้จริงแล้วกระบวนการมีส่วนร่วมมีลักษณะที่คล้ายกับ

              การก้าหนดนโยบาย เพราะท้ายที่สุดของการก้าหนดนโยบาย คือ การตัดสินใจและการตัดสินใจนี เอง จึงเป็น

              เหตุเบื องต้นของการก้าหนดนโยบาย และเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเสมือน

              หนึ่งเป็นการขัดเกลานโยบายให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของประชาชน ตามแนวคิดของ ทรงวุฒิ

              เรืองวาทศิลป์แล้ว กระบวนการการมีส่วนร่วมน่าจะเริ่มจาก 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วม

              ในการด้าเนินกิจกรรม  3) การมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการประเมินผล  ในขณะที่ เมตต์

              เมตต์การุณ์จิต (2553) ได้กล่าวถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยที่มีความสอดคล้องกับ

              ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์ แต่ได้เพิ่มบางประเด็นที่เห็นว่า ยังมีข้อบกพร่องและอาจจะเสริมประเด็นดังกล่าว

              ให้มีความชัดเจนขึ น โดยเริ่มจาก 1) การมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุ และความต้องการ  2) มีส่วนร่วมในการ

              วางแผน  3) มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  4) มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ  5) มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล

              6) มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

                         แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดของ ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์ และเมตต์ เมตต์การุณ์จิต ยังคงมีลักษณะ


              ที่ค่อนข้างแคบ แต่ ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (อ้างใน จิราภรณ์ ศรีค้า, 2547) ได้ให้ความเห็นในกระบวนการมีส่วนร่วม
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72