Page 68 - kpi20902
P. 68

67



                 ที่ลึก หรือเป็นการต่อเติมประเด็นส้าคัญในกระบวนการมีส่วนร่วมมากกว่า ซึ่ง ยุวัฒน์ วุฒิเมธี ได้เน้น

                 กระบวนการมีส่วนร่วมไปในทางของการพัฒนาชุมชน โดยการบูรณาการแนวทางที่เป็นนโยบายเข้ากับ

                 การพัฒนา จึงสะท้อนแนวคิดในเชิงสังคมมากกว่าแนวคิดของเขาแล้ว กระบวนการมีส่วนร่วมจะต้อง

                 เริ่มจาก 1) การมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร 2) การมีส่วนร่วมในการคิด 3) การมีส่วนร่วมในการ

                 ตัดสินใจ  4) การมีส่วนร่วมในการวางแผนและด้าเนินการ  5) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล  6) การมีส่วน

                 ร่วมในการรับผลประโยชน์ สอดคล้องกับแนวคิดของ วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ (2553) ได้กล่าวถึง กระบวนการ

                 มีส่วนร่วมในการวางแผนของประชาชน  ประกอบไปด้วย  1) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร  2) การให้ความเห็น

                 3) การประชุมรับฟังความเห็น  4) การร่วมตัดสินใจ  5) การท้างานร่วมกัน


                            จากแนวคิดกระบวนการมีส่วนร่วมที่นักวิชาการทั งหลายได้ให้ทรรศนะไว้ในเบื องต้นที่กล่าวมา

                 มีความหลากหลายในประเด็นมากพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม หากน้ามาประมวลให้เป็นลักษณะที่เป็นระบบ

                 ตามแนวคิดของ Cohen, J.M., & Up Hoff, N.T. (1980) จะเห็นว่า มีความเป็นระบบในเรื่องของประเด็น

                 ส้าคัญ โดยเขาได้มีการน้าเอากระบวนการมีส่วนร่วมจากนักวิชาการทั งหลายมาประมวลเป็นแนวคิดหลัก

                 และได้จ้าแนก รูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วม ดังนี


                               ขั นที่ 1 - การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) ในกระบวนการของการตัดสินใจ

                 นั น ประการแรกสุดที่ต้องกระท้า คือ การก้าหนดความต้องการและการจัดล้าดับความส้าคัญ ต่อจากนั น

                 ก็เลือกนโยบายและประชาชนที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจนี เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องด้าเนินการไปเรื่อยๆ

                 ตั งแต่การตัดสินใจในช่วงเริ่มต้น การตัดสินใจในช่วงด้าเนินการวางแผน และการตัดสินใจในช่วงการปฏิบัติ

                 ตามแผนที่วางไว้

                               ขั นที่ 2 - การมีส่วนร่วมในการด้าเนินงาน (Implementation) ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของ

                 การด้าเนินงานโครงการนั น ได้มาจากค้าถามว่าใครจะท้าประโยชน์ให้แก่โครงการได้บ้างและจะท้าประโยชน์

                 ได้โดยวิธีใด เช่น การช่วยเหลือด้านทรัพยากร  การบริหารการงาน และการประสานงานและการขอความ

                 ช่วยเหลือ เป็นต้น


                               ขั นที่ 3 - การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (Benefits) ในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์

                 นอกจากความส้าคัญของผลประโยชน์ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึงการกระจาย

                 ผลประโยชน์ภายในกลุ่มด้วย ผลประโยชน์ของโครงการนี รวมทั งผลที่เป็นประโยชน์ทางบวกและผลที่เกิดขึ น

                 ในทางลบที่เป็นผลเสียของโครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อบุคคลและสังคมด้วย
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73