Page 66 - kpi20902
P. 66
65
เมตต์ เมตต์การุณจิต (2553) การมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล
เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ในลักษณะของการร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมท้า
ร่วมตัดสินใจ ร่วมติดตามผล
โดยสรุป จากที่นักวิชาการทั งในและต่างประเทศได้ให้ความหมายไว้ สามารถสรุปได้ว่า
การมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการหรือกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างจิตส้านึกในการรับผิดชอบร่วมกัน
ในพื นที่อาศัยหรือในชุมชนของตนเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การร่วมมือกัน การตัดสินใจร่วมกันด้าเนิน
กิจกรรม ร่วมกันติดตามตรวจสอบ และร่วมกันประเมินผลการด้าเนินการ ทุกกระบวนการเป็นไปอย่าง
มีอิสรภาพ เสมอภาค และสามารถน้าผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาและแก้ไขงาน โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ และ
ความเชี่ยวชาญของแต่ละคนในการแก้ปัญหาของชุมชน ประสานความร่วมมือของคนในชุมชน จนก่อเกิด
เป็นพลังที่สามารถขับเคลื่อนชุมชนไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาครั งนี
เน้นไปที่กระบวนการการท้างานของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเป็นส้าคัญ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการ
มีส่วนร่วมเป็นกลไกที่ส้าคัญในการขับเคลื่อนการท้างานของชุมชนท้องถิ่นในอนาคตเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง
ยั่งยืน
2.5.1 ขั นตอนของกระบวนการมีส่วนร่วม
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน มีนักวิชาการที่ได้ท้าการวิจัย ได้กล่าวถึงกระบวนการ
มีส่วนร่วมตามประเด็นส้าคัญต่างๆ เช่น
ถวิลวดี บุรีกุล (2543) ได้กล่าวถึงกระบวนการมีส่วนร่วมที่น้ามาประมวลเป็นระดับไว้ได้อย่าง
น่าสนใจ โดยถวิลวดี ได้ท้าวิจัยเรื่องประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และได้ข้อสรุปถึงกระบวนการมีส่วนร่วม
ควรจะมีล้าดับขั นประกอบไปด้วย การให้ข้อมูล การเปิดรับความคิดเห็นของประชาชน การปรึกษาหารือ
การวางแผนร่วมกัน การร่วมปฏิบัติ และการควบคุมติดตามโดยประชาชน โดยเป็นการเริ่มจากการสื่อสาร
ทางเดียว ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวไปจนถึงสื่อสารสองทางที่เป็นการปรึกษาหารือ ร่วมคิด
ร่วมวางแผน และเมื่อสื่อสารจนเข้าใจตรงกันแล้ว จึงเป็นการร่วมท้า และในที่สุดเป็นการร่วมติดตามควบคุม
ซึ่งนับเป็นขั นตอนของการมีส่วนร่วมสูงสุด
อภิญญา กังสนารักษ์ (2544) ได้น้าเสนอกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนว่า ชุมชนต้อง
มีส่วนร่วมใน 4 ขั นตอน ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการ ร่วมค้นหาปัญหา และสาเหตุของ
ปัญหาภายในชุมชน ร่วมตัดสินใจก้าหนดความต้องการและร่วมล้าดับความส้าคัญของความต้องการ 2) การ
มีส่วนร่วมในขั นการวางแผน ก้าหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ แนวทางการด้าเนินงาน รวมถึงทรัพยากรและ