Page 71 - kpi20902
P. 71
70
4) การประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เป็นการประชุมที่มีขั นตอนการด้าเนินงานที่เป็นระบบ
และมีความชัดเจนมากขึ น เป็นเวทีในการเสนอข้อมูลอย่างเปิดเผย ไม่มีการปิดบังต่อผู้ที่มีส่วนได้และส่วนเสีย
ของโครงการ การประชาคมและคณะกรรมการจัดประชุมจะต้องมีองค์ประกอบของผู้เข้าร่วมที่เป็นที่ยอมรับ
มีหลักเกณฑ์และประเด็นในการพิจารณาที่ชัดเจน และมีการแจ้งให้ทุกฝ่ายทราบอย่างชัดเจน
5) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) เป็นเป้าหมายสูงสุดของการมีส่วนร่วม
ของประชาชนให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจต่อประเด็นปัญหานั นๆ ซึ่งอาจจะด้าเนินการโดยการเลือกตัวแทน
เข้าไปเป็นกรรมการที่มีอ้านาจการตัดสินใจ
6) การใช้กลไกทางกฎหมาย รูปแบบนี ไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรงในเชิงการ
ป้องกันและแก้ไข แต่เป็นลักษณะของการเรียกร้องและการป้องกันสิทธิของตนเอง อันเนื่องมาจากการไม่ได้รับ
ความเป็นธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ตนเองควรจะได้รับ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ให้
หลักเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้หลายประการ และประชาชนสามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญทั งใน
รูปแบบของปัจเจกหรือในรูปแบบกลุ่ม องค์การ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
โดยสรุป ลักษณะการมีส่วนร่วม คือ การมีส่วนร่วมในระดับกิจกรรม ได้แก่ การรับรู้ข่าวสาร
การปรึกษาหารือ การประชุมรับฟังความคิดเห็น การประชาพิจารณ์ การลงประชามติ และการมีส่วนร่วม
ในระดับการบริหาร ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การใช้กลไกทางกฎหมาย ในประเด็นการมีส่วนร่วม
ในระดับการบริหารนี ยังจะต้องพิจารณาจากในแนวราบ ทุกแผนกทุกฝ่ายจะมีความเสมอกันในต้าแหน่ง และ
ในแนวดิ่งเป็นการมีส่วนร่วมตามสายการบังคับบัญชา
2.5.3 สาเหตุหรือปัจจัยที่ท้าให้เกิดการมีส่วนร่วม
การที่ชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมนั น มีปัจจัยที่ส่งผลให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งมีนักวิชาการ
ได้เสนอแนวคิด ดังนี
Kaufman (1949) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนในชนบท พบว่า อายุ เพศ การศึกษา
ขนาดของครอบครัว อาชีพ รายได้ และระยะเวลาการอยู่อาศัยในท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วม
ของประชาชน ในขณะที่ ประยูร ศรีประสาธน์ (2542) ได้น้าเสนอปัจจัยของการมีส่วนร่วมว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อ
การมีส่วนร่วม มีด้วยกัน 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ 2) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ
ได้แก่ การศึกษา อาชีพ รายได้ และการเป็นสมาชิกกลุ่ม 3) ปัจจัยด้านการสื่อสาร ได้แก่ การรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนและสื่อบุคคล และมีความสอดคล้องกับ สุธี วรประดิษฐ์ (2553) ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชน
และได้น้าเสนอปัจจัยที่มีส่วนในการผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยได้สรุป แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น
คือ 1) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ต่างๆ 2) ลักษณะทางเศรษฐกิจ
ได้แก่ อาชีพ รายได้ 3) การได้รับข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ความถี่ในการรับรู้ข่าวสาร และแหล่งที่มาของข่าวสาร