Page 72 - kpi20902
P. 72
71
แต่ไม่สอดคล้องกับ Leeder (อ้างใน จิราภรณ์ ศรีค้า, 2547) ได้สรุปปัจจัยที่ท้าให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
หรือไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ไว้ว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลจะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ก็ต่อเมื่อ
กิจกรรมนั นสอดคล้องกับความเชื่อพื นฐาน ทัศนคติ และค่านิยมของตน มีคุณค่าสอดคล้องกับผลประโยชน์
ของตน มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของตน สอดคล้องกับสิ่งที่ตนได้มาหรือ
หวังเอาไว้ และบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจะไม่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมใดก็ต่อเมื่อตนเองได้มีประสบการณ์
ที่เป็นอคติต่อเรื่องนั นๆ มาแล้ว และบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ย่อมขึ นอยู่กับ
ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ ขึ นอยู่กับอุปนิสัยและจารีตประเพณี ขึ นอยู่กับโอกาสที่จะอ้านวย ขึ นอยู่กับ
ความสามารถ รวมทั งการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ของบุคคลและกลุ่มบุคคลจะกระท้าโดยการบีบ
บังคับหาได้ไม่ นอกจากนี บุคคลและกลุ่มบุคคลจะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุน
กระตุ้นยั่วยุและจูงใจให้เกิดขึ น
ในขณะเดียวกัน ก็มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่ได้ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่เน้นที่ปัจจัยส่วนบุคคล
องค์กรและชุมชน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่เหมาะสมกับการศึกษางานวิจัยครั งนี เช่น สิริพัฒน์ ลาภจิตร (2550)
ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารงานองค์การบริหาร
ส่วนต้าบล อ้าเภอวารินช้าราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้ข้อสรุปประเด็นปัจจัยที่มีส่วนส้าคัญประกอบด้วย
1) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ การเป็นหน้าที่ของประชาชน อาสาสมัครด้วยใจ มีความรู้ความสามารถ กล้าพูด
กล้าแสดงความคิดเห็น เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน มีทักษะและประสบการณ์ เป็นประโยชน์กับตัวเอง
และชุมชน 2) ปัจจัยด้านชุมชน ได้แก่ ชุมชนให้การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม เลือกให้เป็นตัวแทน
ชุมชนมีความสามัคคี และมีกลุ่มต่างๆ ที่สนับสนุนผลักดันการมีส่วนร่วม 3) ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ อบต.
ด้าเนินงานเป็นไปตามกฎระเบียบ เอาใจใส่กระตือรือร้นในการแก้ปัญหา มีประชาพิจารณ์ประชาคมหมู่บ้าน
สอดคล้องกับ เนตรรุ้ง อยู่เจริญ (2553) ได้ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพ
การศึกษาของครูสถานศึกษาสังกัดส้านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จากการ
ท้าวิจัยครั งนี เนตรรุ้ง อยู่เจริญ ได้พบตัวแปรที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านองค์กร ได้แก่
บรรยากาศองค์กร และการติดต่อสื่อสาร 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เจตคติต่อการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจใน
การท้างาน ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยสรุป ปัจจัยที่ท้าให้เกิดการมีส่วนร่วม ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับ
การศึกษา ประสบการณ์ต่างๆ 2) ปัจจัยด้านชุมชน ได้แก่ ชุมชนให้การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม
เลือกให้เป็นตัวแทน ชุมชนมีความสามัคคี และมีกลุ่มต่างๆ ที่สนับสนุนผลักดันการมีส่วนร่วม 3) ปัจจัยด้าน
องค์การ ได้แก่ บรรยากาศองค์กร การติดต่อสื่อสาร กฎระเบียบ การเอาใจใส่ กระตือรือร้นในการแก้ปัญหา
มีประชาพิจารณ์ประชาคม 4) ปัจจัยด้านทัศนคติ ได้แก่ เจตคติต่อการมีส่วนร่วม และแรงจูงใจในการท้างาน