Page 426 - kpi20858
P. 426

385





                       ช่างหรือศิลปินไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยสามารถพิจารณาถึงมูลเหตุ
                       ส าคัญที่ก่อให้เกิดการกระแสความตื่นตัวทางการรับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกได้ดังนี้


                              ประการที่หนึ่ง มีผู้ก าหนดทิศทางการแสดงออกทางศิลปะที่ทรงอิทธิพล กล่าวคือ พระราช

                       นิยมของพระมหากษัตริย์มีส่วนอย่างมากต่อการสร้างสรรค์ผลงานของช่างหรือศิลปินชาวไทย โดย
                       ในแต่ละครั้งของการสร้างผลงานศิลปกรรม  มักมีการก าหนดรูปแบบในการแสดงออกไว้ล่วงหน้า

                       อย่างชัดเจน ซึ่งรูปแบบที่ได้รับการยอมรับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ หาก

                       เป็นจิตรกรรมที่เขียนภายในวัดมักเป็นศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก  แต่หากน าไปติดตั้งในพระราช

                       วังมักเป็นศิลปกรรมแบบตะวันตก  ส่วนในงานประติมากรรมมักได้รับการถ่ายทอดด้วยศิลปกรรม
                       แบบตะวันตก ซึ่งเป็นการสืบทอดแนวทางจากพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อนหลายพระองค์ จากพระ

                       ราชนิยมนี้ได้เกิดกระแสของการสร้างงานศิลปะภายใต้อิทธิพลตะวันตกขึ้น  อย่างไรก็ตามภายหลัง

                       จากเปลี่ยนแปลงการปกครอง เกิดผู้ก าหนดทิศทางศิลปกรรมใหม่ คือ ทหารที่มาจากพลเรือนท าให้

                       รูปแบบศิลปกรรมเปลี่ยนแปลง และการสื่อนัยความหมายได้เปลี่ยนตามไปด้วย

                              ประการที่สอง  ระยะเวลาในการบ่มเพาะความรู้และประสบการณ์ของช่างหรือศิลปินไทย

                       อยู่ในช่วงเวลาที่สุกงอมเหมาะสม  ซึ่งตรงกับรัชสมัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       พอดี  กล่าวคือ  การฝึกฝนและการศึกษาศิลปะตะวันตกของศิลปินชาวไทย  ที่ได้เริ่มต้นขึ้นอย่าง

                       จริงจังนับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อผ่านกาลเวลาจนเกิดการสั่งสม
                       ความรู้  ตลอดจนมีการเก็บเกี่ยวประสบการณ์สุนทรียะอย่างลึกซึ้งที่มากเพียงพอ  จนก่อให้เกิดการ

                       ส่งถ่ายความรู้ให้กับศิลปินในรุ่นถัดมา  เช่นในกรณีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระ

                       ยานริศรานุวัดติวงศ์  ที่ทรงงานร่วมกับจิตรกรต่างชาติ  พระองค์ทรงเลือกรับและปรับประยุกต์จน

                       น าไปสู่การสร้างสรรค์รูปแบบผลงานเฉพาะองค์  แนวทางนี้ส่งอิทธิพลให้แก่จิตรกรชาวสยามหลาย
                       ท่าน  อาทิ  พระเทวาภินิมมิต  และพระยาอนุศาสน์จิตรกร  ที่ผลงานปรากฏอิทธิพลของสมเด็จพระ

                       เจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์อย่างเห็นได้ชัด  ดังนั้นในรัชสมัยพระบาท

                       สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงปรากฏว่ามีช่างหรือศิลปินที่มีความสามารถในการสร้างผลงาน

                       ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก และศิลปกรรมแบบตะวันตกได้เป็นจ านวนมาก โดยมีการพึ่งพาศิลปิน

                       ชาวต่างประเทศน้อยลง จากความสนใจในความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นนี้ ได้น าไปสู่กระแสการตื่นตัวต่อการ
                       สร้างสรรค์ผลงานภายใต้อิทธิพลตะวันตกเพิ่มขึ้น


                              ประการที่สาม  มีสิ่งแวดล้อมทางวัตถุศิลปะที่ดี  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า

                       เจ้าอยู่หัว  ช่างหรือศิลปินสามารถพบเห็นผลงานส าคัญที่ทรงคุณค่า  เพื่อใช้เป็นแหล่งสร้างแรง
                       บันดาลใจได้ เช่น ผลงานจิตรกรรมส าคัญของศิลปินชาวตะวันตกหรือศิลปินชาวไทยก่อนหน้า อาทิ
   421   422   423   424   425   426   427   428   429   430   431