Page 422 - kpi20858
P. 422

381





                       พบว่า  รูปทรงมนุษย์ของพระยาอนุศาสน์  จิตรกร    มีความมุ่งหมายที่จะสะท้อนภาพความเหมือน
                       จริงแบบตะวันตกมากกว่า  โดยพิจารณาจากที่ผนังตอนบนของวัดทั้งสองแห่งแสดงภาพเทพธิดา

                       และเทพบุตร ที่ยังคงลักษณะบางประการแบบงานจิตรกรรมตามขนบนิยมของไทย  ตัวพระและตัว

                       นางมีระดับของการแสดงความสมจริง  รูปทรงที่มีมวลกล้ามเนื้อ  ลงสีให้แสงและเงาแบบตะวันตก

                       อย่างชัดเจน

                              แท้จริงแล้วผลงานของพระยาอนุศาสตร์  จิตรกรมีการน าเสนอด้วยรูปแบบทั้งสองประเภท

                       กล่าวคือ  ที่ผนังตอนบนแสดงภาพเทพชุมนุมเป็นจิตรกรรมไทยแนวตะวันตก  และส่วนผนังที่แสดง

                       ภาพพุทธประวัติหรือพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรนั้น  มีลักษณะเป็นจิตรกรรมแบบตะวันตก
                       ในระดับที่ชัดเจนยิ่งกว่า  อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้จัดประเภทให้ทั้งสองวัดดังกล่าวอยู่ในรูปแบบ

                       ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก  เนื่องจากยังคงมีการแสดงอิทธิพลของศิลปกรรมตามขนบดั้งเดิมของ

                       ไทยให้เห็นร่วมด้วย


                              ด้านรูปทรงในผลงานฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ
                       วัดติวงศ์ ตลอดจนผลงานลายเส้นของพระเทวาภินิมมิตนั้น แสดงให้เห็นถึงทักษะความช านาญใน

                       การผสมผสานรูปทรงของไทยและตะวันตกได้เป็นอย่างดี  ผลงานของศิลปินทั้งสองแสดงออกใน

                       ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน  ทั้งนี้สามารถอธิบายได้ว่า  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยา

                       นริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีพระอัจฉริยภาพ  ทรงเป็นผู้น าคนส าคัญในรูปแบบศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก
                       และพระเทวาภินิมมิตคือศิลปินท่านหนึ่ง ที่รับเอาอิทธิพลทางการสร้างสรรค์ของพระองค์มาปรับใช้

                       ในผลงานของตนเองได้อย่างมีเอกลักษณ์  ดังนั้นผลงานของทั้งสองท่านจึงมีจุดร่วมกันบางประการ

                       คือ  มีการแสดงเส้นสายอันอ่อนหวานตามแบบอย่างของจิตรกรรมตามขนบนิยม  ทว่าผสานแทรก

                       ด้วยลายเส้นที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในหลักกายวิภาค  และมิติมุมมองอย่างตะวันตกได้อย่าง
                       งดงามลงตัว     ลายเส้นเช่นนี้ปรากฏเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการน าเสนออนุสาวรีย์คุณหญิงมโน

                       ปกรณ์นิติธาดา ซึ่งออกแบบโดยหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ที่แม้อนุสาวรีย์จะสลักจากศิลาอัน

                       แข็งแกร่ง ทว่ากลับแสดงลายเส้นอันอ่อนหวานงดงามตามลักษณะไทยได้อย่างงดงาม


                              ด้านการน าเสนอมุมมองในจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์  ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
                       ยังคงมีการน าเสนอแบบมุมสูงแบบตานกมอง      และแสดงหลายเหตุการณ์บนผนังผืนเดียวคล้าย

                       จิตรกรรมตามขนบนิยม แต่ทว่างานจิตรกรรมของพระยาอนุศาสน์ จิตรกรนั้นกลับน าเสนอ 1 ฉาก

                       ตอน ต่อ 1 ผนัง แบบจิตรกรรมตะวันตก เมื่อพิจารณาถึงการน าเสนอมุมมองในผลงานของพระยา

                       อนุศาสตน์  จิตรกร  พบว่าเกิดการปรับเปลี่ยนจากการที่ผู้ชมเป็นผู้มองเรื่องราวต่างๆ  ในระยะห่าง
                       ผ่านการมองจากมุมสูง  มาสู่การโน้มน าผู้ชมให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ด้วยการน าเสนอ
   417   418   419   420   421   422   423   424   425   426   427