Page 420 - kpi20858
P. 420
379
สมัยใหม่ ที่เตรียมเบ่งบานในรัชกาลต่อไป ทั้งนี้สามารถสรุปประเด็นศึกษาเรื่องภูมิหลังและรูปแบบ
ในงานศิลปกรรมทั้งสองประเภทได้ ดังต่อไปนี้
6.1.2.1 ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก
ภูมิหลังของผลงานจิตรรรมไทยแนวตะวันตกทั้งหมด มีวัตถุประสงค์ในการสร้างขึ้นเพื่อ
สนองตอบต่อความต้องการของสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันศาสนาเป็นหลัก กล่าวคือ
ผลงานหลายชิ้นทั้งจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เขียน
ขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองสมโภชพระนครครบ 150 ปี ซึ่งเป็นการจัดงานเพื่อระลึกถึงพระบรมมหา
กรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศสยาม มีการเตรียมการพระราชพิธีอย่าง
ใหญ่โต อีกทั้งจิตรกรรมฝาผนังที่เกี่ยวข้องกับคติพรามหณ์-ฮินดู พุทธประวัติ และนิทานอิสปที่พระ
อุโบสถวัดสามแก้ว ซึ่งพระยาอนุศาสน์ จิตรกร เป็นผู้เขียนถวายพระธรรมโกษาจารย์ และยังถวาย
เป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ซึ่งจิตรเคยถวายงานใกล้ชิดมา
ก่อน พระยาอนุศาสน์ จิตรกรเขียนขึ้นโดยส านึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาล
ก่อน ตลอดจนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระราชพงศาวดาร สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่พระ
วิหารวัดสุวรรณดาราราม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด าริให้พระยา
อนุศาสน์ จิตรกร เขียนภาพเล่าเรื่องแนวใหม่ ที่มิเคยปรากฏมาก่อนในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังของ
วัด มีนัยยะที่สืบเนื่องมาจาก ปีที่สร้างภาพเขียนเป็นปีที่ใกล้วาระการจัดงานฉลองสมโภชพระนคร
ครบ 150 ปี ดังนั้นการน าเสนอภาพพระมหากษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชอย่างหาญกล้า จะยิ่งส่งเสริม
ศรัทธาให้เกิดขึ้นในใจของประชาชนได้
นอกจากนี้ภาพลายเส้นและภาพประกอบ เรื่อง ทศชาติชาดก ของสมเด็จกรมพระยานริศรา
นุวัดติวงศ์ ซึ่งเขียนถวายสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เจ้าฟ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เพื่อประทานแจก
เป็นของช าร่วยเนื่องในวันประสูติ และภาพลายเส้น เทพ มนุษย์ ยักษ์ ลิง โดยพระเทวาภินิมมิต ที่
ร่างขึ้น เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จิตรกรรมทั้งหมดข้างต้นล้วนเกี่ยวพันกับสถาบันกษัตริย์และศาสนาด้วยกันทั้งสิ้น เช่นเดียวกันกับ
ประติมากรรมไทยแนวตะวันตก คือ อนุสาวรีย์คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา สร้างตามพระราช
ประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมอบหมายให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์
กฤดากรทรงออกแบบ สร้างไว้ที่บริเวณก าแพงแก้วหน้าพระวิหารหลวง วัดปทุมวนาราม ซึ่งมีความ
เกี่ยวพันกับพิธีกรรม และพื้นที่ทางศาสนา