Page 421 - kpi20858
P. 421
380
ด้านรูปแบบของศิลปกรรมไทยแนวตะวันตกนั้น เกิดจากการน าเอาสิ่งที่ดีงามของสอง
วัฒนธรรมมาผสานรวมกัน รูปแบบดังกล่าวเกี่ยวพันกับการน าเสนอภาพความงามตามขนบนิยมที่
มีมาแต่ดั้งเดิมของไทย ผสมผสานเข้ากับความเหมือนจริงแบบศิลปะตะวันตก จนเกิดเป็นศิลปกรรม
ไทยรูปแบบใหม่ ทั้งนี้สัดส่วนของการผสมผสานศิลปะไทยและตะวันตกอาจมากหรือน้อยแตกต่าง
กัน ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของช่างหรือศิลปิน
ความเปลี่ยนแปลงนี้มีมูลเหตุมาจากการปรับทีท่าการแสดงออกของช่างหรือศิลปินภายใต้
อิทธิพลทางสังคม ที่มีความตื่นตัวต่อการรับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกในทุกด้าน อย่างไรก็ตาม
การน าเสนอผลงานด้วยรูปแบบดังกล่าวนั้น สอดรับกับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์ และ
สถาบันศาสนาซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์หลักเป็นอย่างดี โดยพิจารณาได้ว่าเป็นรูปแบบที่ชาวสยามคุ้นเคย
ถือเป็นการปรับเปลี่ยนทิศทางการแสดงออกแบบค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้รูปแบบศิลปกรรมไทย
แนวตะวันตกเช่นนี้ยังเหมาะกับเนื้อหาแบบไทย กล่าวคือ ผลงานที่น าเสนอด้วยรูปแบบนี้มีเนื้อหา
ซึ่งเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ คติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตลอดจน
ศาสนาพุทธ เช่น พุทธประวัติ และทศชาติชาดก ดังนั้นการใช้รูปแบบศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก
จึงมีความสอดรับไปกับเนื้อหา ประกอบกับรูปแบบเช่นนี้ยังสัมพันธ์กับพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่มักถูก
เขียนหรือน าไปติดตั้งในพื้นที่ของวัด ความสอดคล้องไปกับองค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมอีกประการ
หนึ่ง
ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก ยังคงรูปลักษณ์ หรือลักษณะบางประการของศิลปกรรมตาม
ขนบนิยมดั้งเดิมเอาไว้ หากแต่ได้ผสานสร้างความเหมือนจริง ซึ่งเป็นวิทยาการแบบตะวันตกเข้าไป
อันได้แก่ การน าเสนอรูปทรงตามหลักกายวิภาค การใช้ทัศนียวิทยาเชิงเส้น และทัศนียวิทยาแบบ
บรรยากาศ โดยอาศัยคุณสมบัติของสี สร้างระยะตลอดจนสร้างรายละเอียดต่างๆ ที่มีแนวโน้ม
เลียนแบบธรรมชาติ ดังที่ดวงตามนุษย์มองเห็นได้ อย่างไรก็ตามผลงานศิลปกรรมแต่ละแห่งแต่ละ
ชิ้นนั้น กลับมีสัดส่วนของการผสมผสานลักษณะข้างต้นที่แตกต่างกันออกไป
เมื่อศึกษาจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พบว่าการน าเสนอ
ภาพรวมของรูปทรงยังคงรักษาไว้ซึ่งรูปลักษณ์และลีลาเชิงนาฏลักษณ์ หากแต่เริ่มน าเอาแสงและ
เงาเข้ามาใช้เพื่อสร้างปริมาตร กล่าวคือ จากเดิมจิตรกรรมตามขนบนิยมจะน าเสนอตัวพระ และตัว
นางในลักษณะเป็นรูปร่างแบนๆ อันเกิดจากการลงสีและตัดเส้น ในสมัยนี้กลับเปลี่ยนทีท่าการ
แสดงออกมาเป็นการน าเสนอในลักษณะรูปทรง อันมีมิติความกลมกลึงของมวลกล้ามเนื้ออย่าง
สมจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อน ารูปทรงที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามมาเปรียบเทียบกับ
รูปทรงในงานจิตรกรรมของ พระยาอนุศาสน์ จิตรกร ทั้งที่วัดสามแก้ว และวัดสุวรรณดารารามนั้น