Page 424 - kpi20858
P. 424
383
ความงามของทางสัดส่วน กล้ามเนื้อ และโครงสร้างต่างๆ ทางกายวิภาคอย่างถูกต้อง ตลอดจน
แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในหลักทัศนียวิทยา เพื่อถ่ายทอดความตื้นลึกของภาพ และน าไปสู่
ความสมจริงทางด้านการมองเห็น นอกจากนี้การใช้สี และแสง-เงา ยังถือเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญ
อย่างสูงต่อการน าเสนอความเหมือนจริงในลักษณะนี้
การสร้างศิลปกรรมแบบตะวันตกนอกจากจะต้องค านึงถึงความสมจริงแล้ว การแสดง
ลักษณะเฉพาะของบุคคลของผู้เป็นแบบ ตลอดจนความสามารถในการแฝงนัยอารมณ์ ยังถือเป็นสิ่ง
ส าคัญอย่างมากอีกประการหนึ่ง เนื่องเพราะผลงานศิลปกรรมแบบตะวันตกที่มุ่งเน้นความเหมือน
จริงเช่นนี้ ส่วนมากเกี่ยวข้องกับการน าเสนอภาพกษัตริย์ ดังนั้นไม่ว่าจะสร้างภาพเขียนหรือพระ
บรมรูปปั้น ผลงานต้องส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงอุดมคติขององค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งด ารงสถานะ
ประมุขของประเทศ โดยต้องสะท้อนลักษณะอารมณ์เฉพาะ เช่น พระราชอ านาจ หรือพระเมตตา
ของพระมหากษัตริย์อีกทางหนึ่งด้วย การสร้างศิลปกรรมแบบตะวันตกเช่นนี้เป็นเสมือนการบันทึก
ประวัติศาสตร์ของชาติ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถาบัน พร้อมกับเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความทันสมัย
และความเจริญทัดเทียมชาติตะวันตกได้ในคราวเดียวกัน
ผลงานศิลปกรรมประเภทนี้พบเห็นได้จากการสร้างเหรียญที่ระลึกในงานส าคัญต่างๆ และ
งานสร้างอนุสาวรีย์ส าคัญของไทย เช่น ปฐมบรมราชานุสรณ์ ซึ่งออกแบบให้มีขนาดใหญ่โต
นอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นวัตถุอนุสรณ์ประจ ารัชกาลแล้วนั้น ยังมีจุดมุ่งหมายของการสร้างสรรค์
ที่ส าคัญคือ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก าลังถูกท้าทายในสังคม
สยาม จากการเรียกร้องอันน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในเวลา
ต่อมา การน าเสนอภาพลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า แสดงความเป็นมหาราช
ประทับนั่งบนบัลลังก์ ถ่ายทอดอาการส ารวม พระพักตร์แสดงความเคร่งขรึม แน่วแน่ และเด็ดเดี่ยว
ตลอดจนการสร้างพระบรมรูปเหมือนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สะท้อนให้เห็น
ถึงพระจริยวัตรอันงดงาม และทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา เป็นต้น
รูปแบบศิลปกรรมแบบตะวันตกที่รับใช้สถาบันพระมหากษัตริย์ แตกต่างจากรูปแบบ
ศิลปกรรมแบบตะวันตกที่สร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 กล่าวคือ
การสร้างผลงานแบบเหมือนจริงเพื่อพระมหากษัตริย์ มุ่งถ่ายทอดความเหมือนจริงที่ผสานแทรก
ความงามเชิงอุดมคติเข้าไปในผลงาน ท าให้ผู้ชมให้ได้รับรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันพระมหา
กษัตริย์ ผู้เป็นประมุขปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ที่ทรงเปี่ยมด้วยพระราชอ านาจ และบุญญาธิการ
ในขณะที่ผลงานแบบเหมือนจริงที่สร้างขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น กลับ
สะท้อนภาพมนุษย์ที่เป็นปุถุชนคนธรรมดามากกว่า ดังเช่น อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่แสดงภาพหญิง