Page 427 - kpi20858
P. 427

386





               ผลงานของขรัว  อินโข่ง  ภาพจิตรกรรมที่เพดานโดมภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม  ตลอดจนภาพ
               จิตรกรรม โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และผลงานจิตรกรรม

               ของพระวรรณวาดวิจิตร เป็นต้น จากการมีตัวอย่างที่ดี ส่งผลท าให้ศิลปินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

               พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีแนวทางปฏิบัติ  และสามารถปรับใช้ประโยชน์จากศิลปะตะวันตกดังที่ศิลปิน

               รุ่นก่อนเคยกระท า

                        ประการที่สี่  ช่างหรือศิลปินมีความต้องการสร้างสรรค์ผลงานตามความสนใจส่วนตัว  ที่

               นอกเหนือไปจากการรับใช้ผู้อุปถัมภ์  แนวคิดนี้ได้สะท้อนทัศนะของศิลปินด้านปัจเจกภาพที่รับมา

               จากชาติตะวันตก  ส่งผลให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ  โดยมี
               อิทธิพลจากศิลปะตะวันตก ซึ่งก าลังเป็นที่สนใจในหมู่ช่างหรือศิลปินชาวไทยเป็นกระแสหลัก ผลงาน

               ของศิลปินแสดงให้เห็นถึงส านึกเรื่องความเท่าทัน  ในกระแสความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยที่เกิด

               ขึ้นในสังคมไทยขณะนั้นได้เป็นอย่างดี


                        ประการที่ห้า  มีแหล่งการศึกษาเรียนรู้ที่ดี  ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาท
               สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้ก่อตั้งโรงเรียนช่าง  เพื่อท าการท านุ

               บ ารุงและสืบสานงานศิลปกรรมของสยามให้ยืนหยัดต่อไปในภายภาคหน้า  น าไปสู่การสถาปนา

               โรงเรียนเพาะช่างขึ้นในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งถือเป็นสถาบันที่

               ส่งเสริมการศึกษาวิชาช่างของไทยที่ส าคัญ  การเปิดโรงเรียนดังกล่าวท าให้เกิดการขยายโอกาสทาง
               การศึกษาวิชาศิลปะ จนสามารถผลิตช่างหรือศิลปินได้จ านวนมาก ในขณะที่อดีตการศึกษาวิชาช่าง

               และการสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมนั้น  ต้องเป็นไปในลักษณะการฝากตัวเป็นศิษย์  มีการถ่ายทอด

               ความรู้กันในสกุลช่างซึ่งอยู่ในวงจ ากัด เมื่อท าการเปิดโรงเรียนเพาะช่าง ยิ่งส่งเสริมบรรยากาศของ

               ค้นคว้าเพื่อศึกษาศิลปกรรมได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้แม้ว่าโรงเรียนประณีตศิลปกรรมจะสถาปนา
               ขึ้นในช่วงท้ายของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี

               ร่วมกับผู้มีความสามารถทางศิลปะหลายท่านร่วมกันวางรากฐานการศึกษาแบบตะวันตก        ทว่า

               ต่อมาได้กลายเป็นสถาบันการศึกษาที่ส าคัญ  ซึ่งสามารถผลิตศิลปินผู้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญ

               ในวิทยาการแบบตะวันตกจ านวนมาก  จนกล่าวได้ว่าบรรยากาศของการศึกษาศิลปะในขณะนั้น

               เป็นไปอย่างกว้างขวาง     ศิลปินหลายในรัชสมัยนี้ต่อมาได้เป็นเรี่ยวแรงก าลังส าคัญในการสร้าง
               ศิลปิน  ตลอดจนผลงานศิลปกรรม  ขับเคลื่อนวงการศิลปะะให้ก้าวไปข้างหน้าทัดเทียมกับนานา

               อารยประเทศ


                       จากการวิเคราะห์ภาพรวมของการแสดงออกทางศิลปกรรม         ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
               พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  พบว่ามีความใกล้เคียงกับแนวทางในยุคก่อนหน้า  คือ  ในรัชสมัยพระบาท
   422   423   424   425   426   427   428   429   430   431   432