Page 425 - kpi20858
P. 425

384





               สามัญชน  ผู้ซึ่งประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติเพียงเท่านั้น  ท าให้สามารถสรุปได้ว่าภาย
               หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ช่างหรือศิลปินได้การปรับท่าทีการแสดงออกให้แตกต่างไปจาก

               การสร้างศิลปกรรมที่เคยถูกยอมรับหรือรับรองโดยพระมหากษัตริย์และชนชั้นสูง  เปลี่ยนแปลงไปสู่

               การน าเสนอภาพความสามัญธรรมดายิ่งขึ้น

                       ด้านการน าเสนอจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคล ที่เป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของ

               พระมหากษัตริย์ หรือชนชั้นสูง ดังปรากฏในผลงานของพระสรลักษณ์ลิขิต ตลอดจน แนม สุวรรณ

               แพทย์ และเทียม จิตรสาสตร์ ตลอดจนประติมากรรมพระบรมรูปเหมือนพระมหากษัตริย์ โดย

               ศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี นับว่ามีข้อจ ากัดในการถ่ายทอดฝีมือเชิงสร้างสรรค์อยู่บ้าง กล่าวคือ
               ในด้านรูปแบบการน าเสนอ ต้องสร้างขึ้นภายใต้การก ากับดูแลให้เป็นไปตามความต้องการของผู้

               อุปถัมภ์ ตลอดจนต้องตั้งอยู่บนฐานของการสร้างแบบเหมือนจริง ที่ต้องซ่อนนัยความหมายที่

               ส่งเสริม ยกย่องให้เห็นลักษณะอันงามสง่าของผู้เป็นแบบ ประกอบกับมีกลวิธีการสร้างผลงานโดย

               มีภาพพระบรมฉายาลักษณ์หรือภาพถ่ายเป็นต้นแบบ ท าให้ช่างหรือศิลปินขาดอิสระในการ

               ก าหนดมุมมอง หรือการน าเสนออารมณ์ ซึ่งแตกต่างไปจากการน าเสนอผลงานส่วนตัวของศิลปิน
               ที่สร้างผลงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในของตน ดังเช่น รูปเหมือนพระองค์เองของ

               หม่อมเจ้าหญิง พิไลยเลขา ดิศกุล และภาพทิวทัศน์ของพระยาอนุศาสน์ จิตรกร ที่แสดงให้เห็นถึง

               อิสระในการก าหนดมุมมอง ตลอดจนการใช้สี เช่นเดียวกับผลงานการสร้างประติมากรรมรูป

               เหมือนบุตรชายของ ศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี ที่แสดงให้เห็นถึงความอิสระในการปั้น และแต่ง
               เติมผิวดินอย่างมีชีวิตชีวา ผลงานส่วนตัวเช่นนี้ มิได้สร้างขึ้นภายใต้ข้อก าหนด หรือเงื่อนไขจาก

               บุคคลอื่น ดังนั้นจึงท าให้ศิลปินมีอิสระในการถ่ายทอดได้มากกว่า


               6.2 อภิปรายผล


                       การจ าแนกศิลปกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก และศิลปกรรม
               แบบตะวันตก  ท าให้สามารถจัดรูปแบบประเภทผลงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็น

               ถึงพัฒนาการทางศิลปะของไทย  โดยเฉพาะในงานจิตรกรรม  กล่าวคือ  จากการศึกษาพบว่า

               พัฒนาการด้านรูปแบบของจิตรกรมไทยนั้น  มิได้มีการปรับเปลี่ยนแบบฉับพลัน  หากแต่เป็นแบบ

               ค่อยเป็นค่อยไป  โดยมีจุดเริ่มต้นของการรับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จ

               พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เรื่อยมาสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และรัชสมัย
               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทว่าอิทธิพลตะวันตกกลับเป็นกระแสนิยมอย่างสูงในหมู่
   420   421   422   423   424   425   426   427   428   429   430