Page 428 - kpi20858
P. 428

387





                       สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   สืบ
                       เนื่องมาจากเป็นศิลปินในสกุลช่างเดียวกัน หรือเป็นศิลปินคนเดียวกัน เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์

                       เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า

                       อยู่หัว  ถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รวมถวายงานพระมหากษัตริย์ถึง  3  รัชกาล  หรือ

                       พระสรลักษณ์ลิขิต และพระยาอนุศาสน์ จิตรกร ที่ได้ถวายงานรับใช้พระมหากษัตริย์ถึง 2 รัชกาล
                       คือ  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ดังนั้น

                       รูปแบบการแสดงออกที่ปรากฏจึงมีรูปแบบใกล้เคียงกัน  อย่างไรก็ตามพบว่าผลงานจิตรกรรมฝา

                       ผนังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  มีความพิเศษด้านเนื้อหาเป็นอย่างยิ่ง

                       กล่าวคือ  ที่วัดสามแก้ว  และวัดสุวรรณดารารามมีท่าทีการน าเสนอเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงไปจาก
                       ขนบเดิม กล่าวคือ ในอดีตภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดมักน าเสนอภาพเล่าเรื่องทางศาสนาพุทธ

                       เป็นหลัก ทว่าผลงานของพระยาอนุศาสน์ จิตรกร กลับได้รับการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ต่างออกไป ซึ่ง

                       ผลงานของท่านมักผูกพันกับงานด้านวรรณกรรม โดยภายในพระอุโบสถวัดสามแก้วปรากฏการเขียน

                       ภาพประกอบนิทานอิสป  ซึ่งเป็นวรรณกรรมตะวันตก  ตลอดจนที่พระวิหารวัดสุวรรณดาราราม  เขียน

                       ภาพพระราชพงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ซึ่งไม่เคยปรากฏเป็นเนื้อหาในการเขียนภาพ
                       จิตรกรรมฝาผนังมาก่อน เป็นต้น


                              หากกล่าวถึงข้อสรุปด้านรูปแบบเฉพาะในงานจิตรกรรมฝาผนังในรัชสมัยนี้พบว่า  ศิลปินมี

                       ความตื่นตัวต่อการสร้างภาพให้เหมือนจริง  อันเป็นผลจากการรับศิลปะตะวันตกมาปรับใช้  โดยมี
                       ความตระหนักถึงกายวิภาคที่ถูกต้อง  ร่วมกับการน าเสนอหลักทัศนียวิทยา  ทั้งทัศนียวิทยาเชิง

                       เส้นและการใช้สีเพื่อสร้างทัศนียวิทยาแบบบรรยากาศ  ตลอดจนทัศนียวิทยาแบบหดสั้นในรูปทรง

                       ประกอบกับการลงสีและแสง-เงาเพื่อเลียนแบบธรรมชาติ กล่าวได้ว่าการแสดงความถูกต้องสมจริง

                       นั้นอยู่ในส านึกของการสร้างงานจิตรกรรมของศิลปินไทยในสมัยนี้  มากกว่าการแสดงออกของศิลปิน
                       ในรัชกาลก่อนหน้า  แนวทางเช่นนี้เป็นรูปแบบที่สืบทอดมาจากผลงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์

                       เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งเป็นที่แพร่หลายอย่างมากในรัชกาลที่ 7 นี้ โดยพบเห็น

                       อิทธิพลของพระองค์ในผลงานของศิลปินหลายท่าน โดยเฉพาะพระเทวาภินิมมิต และพระยาอนุศาสน์

                       จิตรกร ซึ่งเป็นจิตรกรคนส าคัญของยุค

                              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ปรากฏวัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์

                       ผลงานของศิลปิน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ


                              1. ศิลปินสร้างผลงานขึ้นภายใต้การรับค าสั่งจากผู้อุปถัมภ์ โดยสามารถแบ่งผู้อุปถัมภ์เป็น 2
                       กลุ่ม ได้แก่ ผู้อุปถัมภ์กลุ่มเก่า หมายถึง พระมหากษัตริย์ ชนชั้นสูง ตลอดจนพระสงฆ์ และผู้อุปถัมภ์
   423   424   425   426   427   428   429   430   431   432   433