Page 423 - kpi20858
P. 423
382
มุมมองในระดับสายตาแบบปกติ ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมไปกับเหตุการณ์ที่ปรากฏ ส่งผลต่อการ
รับรู้และการตีความด้านเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้พบว่ามุมมองที่พิเศษอย่างยิ่งปรากฏในผลงานภาพ
ประกอบฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เรื่อง เนมิ
ราชชาดก ตอนแรงอธิษฐาน ที่น าเสนอด้วยมุมมองในลักษณะ มองจากด้านล่างขึ้นสู่เบื้องบน
มุมมองทั้งหลายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการรับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกมาปรับใช้ในผลงานของ
ศิลปินไทยอย่างแพร่หลาย
ทัศนียวิทยาเชิงเส้น ทัศนียวิทยาแบบบรรยากาศ และทัศนียวิทยาแบบหดสั้น ทั้งหมดถูก
น าเสนอในผลงานจิตรกรรมไทยแนวประเพณีด้วยกันทั้งสิ้น กล่าวได้ว่าการน าเสนอระยะอย่าง
ถูกต้องสมจริงนั้น อยู่ในส านึกของจิตรกรในสมัยนี้อย่างถ้วนทั่ว โดยที่ทัศนียวิทยาเชิงเส้นพบเห็นได้
ที่เส้นขอบของสถาปัตยกรรม ตลอดจนเส้นขอบนอกของรูปทรงต่างๆ ในส่วนทัศนียภาพและ
สิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งนี้มีการสร้างการลดหลั่นของขนาดเมื่อเข้าสู่ระยะหลัง อันเป็นผลจากการ
ก าหนดโดยเส้นทัศนียวิทยา ส่วนทัศนียวิทยาแบบบรรยากาศจะอาศัยคุณสมบัติของสี สร้างเป็น
บรรยากาศให้พร่าเลือนเมื่อวัตถุอยู่ลึกและไกลออกไป ประกอบกับทัศนียวิทยาแบบหดสั้นจะปรากฏ
อยู่ในรูปทรงของมนุษย์และวัตถุเป็นหลัก วิทยาการตะวันตกเช่นนี้ถูกน ามาปรับใช้ในผลงาน แม้ว่า
ยังไม่ถึงพร้อมด้วยความสมบูรณ์แบบ ทว่าได้เริ่มปรากฏอยู่ในผลงานของศิลปินชาวไทยที่แพร่หลาย
มากขึ้นกว่ารัชกาลก่อนหน้า
ด้านการใช้สีนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับการสร้างระยะ กล่าวคือ จากเดิมที่ภาพจิตรกรรม
ฝาผนังตามขนบนิยมดั้งเดิมจะแสดงความคมชัดเท่ากันทั้งหมดทั้งในระยะหน้าและหลัง ได้มีการ
ปรับเปลี่ยนทีท่าของการลงสีเพื่อแสดงบรรยากาศที่ระยะด้านหลังให้พร่าเลือน อันเป็นลักษณะของ
การสร้างระยะในงานจิตรกรรมแบบตะวันตก นอกจากนี้ในงานจิตรกรรมไทยแนวตะวันตกยังมีการ
แสดงกาลเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาร่วมด้วย ทั้งนี้เทคนิคการลงสีในผลงานจิตรกรรมที่พระ
ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามบางส่วน ตลอดจนผลงานจิตรกรรมของพระยาอนุศาสน์ จิตรกร
ยังสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการแตะแต้มสีแบบฉับพลัน ปรากฏเป็นร่องรอยฝีแปรงคล้ายกับจิตรกรรมลัทธิ
อิมเพรสชันนิสม์แบบตะวันตกอีกด้วย ถือเป็นการปรับท่าทีการลงสีให้มีความแตกต่างไปจากจิตรกรรม
ตามขนบดั้งเดิมที่นิยมเกลี่ยสีเรียบและตัดเส้นเพียงเท่านั้น
6.1.2.1 ศิลปกรรมแบบตะวันตก
ผลงานศิลปกรรมแบบตะวันตกส่วนใหญ่ มีความเกี่ยวพันกับพระราชนิยมของพระมหา
กษัตริย์มากกว่าความต้องการทางศาสนา มีรูปแบบที่มุ่งสะท้อนภาพความเหมือนจริง โดยค านึงถึง