Page 415 - kpi20858
P. 415
373
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบรมรูปเต็มองค์และเฉพาะพระเศียรของพระบาทสมเด็จพระ
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เหรียญที่ระลึก เฉลิมพระนครครบ150 ปี และอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ซึ่งเมื่อ
น ามาเปรียบเทียบระดับของการน าเสนอความสมจริงนั้นพบว่า ผลงานที่สร้างขึ้นตามรับสั่งของ
พระมหากษัตริย์แสดงความเหมือนจริงที่แฝงความสง่างามแบบอุดมคติเข้าไว้เสมอ ในขณะที่ผลงาน
ซึ่งได้รับค าสั่งภายใต้รัฐบาลใหม่นั้นกลับแสดงความสมจริงแบบสามัญ ตามสภาพการณ์ในสังคมที่
เปลี่ยนแปลงไป แม้กระนั้นความเหมือนจริงแบบสามัญเช่นนี้ก็มิได้สร้างขึ้นได้อย่างเสรีที่ปราศจาก
ข้อก าหนด ศิลปินยังคงต้องสร้างผลงานเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของบุคคลอื่น ซึ่งแตกต่าง
จากผลงานส่วนตัวของท่านอย่างชัดเจน คือ ประติมากรรมรูปเหมือนคุณโรมาโน วิเวียนี ทั้ง 2 ชิ้นที่
สะท้อนให้เห็นถึงความเหมือนจริงแบบสามัญที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอิสระ และความมีชีวิตชีวา
แม้อิทธิพลจากศิลปะตะวันตกจะเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อแนวทางการสร้างของไทย ตั้งแต่
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทว่าจิตรกรและประติมากรในรัชสมัยล้วนยังไม่
คุ้นเคย มิได้สัมผัสสุนทรียะแบบตะวันตกโดยตรง เป็นเพียงการพบเห็นผลงานทางอ้อม จากความ
ต้องการผลงานศิลปกรรมแบบตะวันตกอย่างเร่งด่วน ท าให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงน าเข้าศิลปินต่างชาติ เพื่อส่งถ่ายองค์ความรู้ สร้างสรรค์และท างานร่วมกับศิลปินไทย ตลอดจน
ส่งออกศิลปินไทยไปศึกษายังต่างประเทศ ถือเป็นการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์เพื่อน าไปสู่การวางรากฐาน
ศิลปกรรมแบบตะวันตกให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ จนกรทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว เมล็ดพันธุ์เริ่มเติบโต และผลิดอกออกผลอย่างแพร่หลายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพิจารณาได้จากจ านวนศิลปินที่มีฝีมือโดดเด่นและมีความสามารถในการ
ถ่ายทอดศิลปกรรมแนวตะวันตกและแบบตะวันตกมากมายหลายท่าน ซึ่งเป็นก าลังส าคัญในการ
ผลิตศิลปินรุ่นต่อไป นอกจากนี้ยังปรากฏผลงานที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทางความต้องการส่วนตัว
ของศิลปิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงส านึกของแนวคิดเรื่อง ปัจเจกศิลปิน ในสังคมสยามภายใต้แนวคิด
สมัยใหม่แบบตะวันตก ที่ก่อตัวให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว ก่อนที่จะเบ่งบานอย่างเต็มที่ในรัชกาลถัดมา