Page 411 - kpi20858
P. 411

369





                       ดาราราม  มีการก าหนดสีพระวรกายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่ามีสีผิวพระวรกายค่อนไป
                       ทางคล ้า  ซึ่งจิตรกรผู้สร้างผลงานทั้งสามแห่งใช้สีตามลักษณะของตัวละครหรือบุคคลในเนื้อเรื่อง

                       อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดผลสูงสุดด้านการเล่าเรื่องให้สอดคล้องไปกับเนื้อหาในงานวรรณกรรม


                              ด้านการใช้สีเพื่อสร้างค่าน ้าหนักอ่อนแก่ของแสง-เงาอย่างถูกต้องสมจริง  ส่งผลท าให้รูปทรง
                       ต่างๆ  เกิดปริมาตร  สามารถพบได้ทั้งในงานจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  วัด

                       สามแก้ว  และวัดสุวรรณดาราราม  การใช้สีก าหนดค่าแสงและเงาเพื่อสร้างมิติพบเห็นได้น้อยมาก

                       ในจิตรกรรมตามขนบนิยม ซึ่งอาจปรากฏเพียงการโฉบสีท้องฟ้าเพื่อไล่ระดับค่าน ้าหนักของสี หรือที่

                       บริเวณก้อนหินเพื่อให้เกิดความกลมกลึง  แต่ทว่าไม่พบการแสดงแสง-เงาที่รูปทรงหลักต่างๆ  ทั้ง
                       รูปทรงของบุคคลและสถาปัตยกรรม  ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าจิตรกรรมฝาผนังทั้งสามแห่งนี้ได้รับเอา

                       อิทธิพลการใช้สี เพื่อสร้างแสงและเงามาจากจิตรกรรมแบบตะวันตก นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้สี

                       เพื่อแสดงกาลเวลาซึ่งต่างไปจากจิตรกรรมตามขนบนิยม  เช่น  ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดา

                       รามที่บริเวณท้องฟ้าสามารถระบุได้ว่าเป็นช่วงเวลากลางวัน  เย็นย ่า  หรือค ่าคืน  ช่วงเวลาดังกล่าว

                       ถูกก าหนดให้สัมพันธ์ไปกับเนื้อเรื่องของแต่ละฉาก อีกทั้งจิตรกรยังใช้สีเพื่อแสดงบรรยากาศ เช่น ที่
                       วัดสุวรรณดาราราม  ในฉากสงครามยุทธหัตถีที่มีการพุ่งรบกันจนเกิดกลุ่มควันตลบฟุ้งไปทั่วอาณา

                       บริเวณ  หรือที่วัดสามแก้วในฉากนันโทปนันทะพญานาค  ยอมแพ้และเข้าสู่ร่มพระพุทธศาสนา  สี

                       เทาทะมึนของกลุ่มก้อนเมฆแสดงถึงสภาวการณ์ของความปั่นป่วนได้เป็นอย่างดี  จากตัวอย่างข้างต้น

                       สามารถสรุปได้ว่าจิตรกรได้ค านึงถึงการใช้สีเพื่อน าเสนอภาพ  กับการสื่อสารอารมณ์ให้เกิดความ
                       สมจริงตามแบบอย่างจิตรกรรมตะวันตก


                              เมื่อพิจารณากลวิธีการใช้สีพบว่า  จิตรกรหลายท่านได้พัฒนาปรับเปลี่ยนกลวิธีการลงสีให้

                       แตกต่างไปจากจิตรกรรมตามขนบที่นิยมระบายสีเรียบไปสู่การสร้างร่องรอยของฝีแปรง  โดยสามารถ
                       พบเห็นในผลงานของพระยาอนุศาสน์  จิตรกร  ที่ใช้สีสร้างร่องรอย  แสดงฝีแปรงอย่างฉับพลัน

                       จังหวะของการปาดป้ายฝีแปรงนั้นท าให้ภาพเปี่ยมไปด้วยพลัง  และมีชีวิตชีวายิ่งนัก  ทั้งนี้ลักษณะ

                       การใช้ฝีแปรงของท่านมีความคล้ายคลึงกับจิตรกรรมอิมเพรสชันนิสม์ในตะวันตก  อย่างไรก็ตาม

                       สามารถพบเห็นร่องรอยการปาดป้ายฝีแปรงในลักษณะเดียวกันนี้  ได้ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตน

                       ศาสดารามเช่นกัน ทว่าจะปรากฏอยู่ในส่วนของฉากทัศนียภาพ เช่น ท้องน ้า ต้นไม้ หรือพื้นหญ้า ที่
                       ไม่ต้องการการแสดงรายละเอียดอย่างประณีต


                              ผลงานจิตรกรรมไทยแนวตะวันตกเหล่านี้มีลักษณะของการสร้างภาพเล่าเรื่อง  โดยมีเนื้อหา

                       ความเกี่ยวพันกับงานวรรณกรรม  กล่าวคือ  จิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดา
                       รามแสดงเนื้อหาเรื่องรามเกียรติ์  วรรณกรรมอันทรงคุณค่าที่ประพันธ์ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
   406   407   408   409   410   411   412   413   414   415   416