Page 410 - kpi20858
P. 410

368





                       ทว่าก็สะท้อนให้เห็นถึงเจตจ านงของพระยาอนุศาสน์ จิตรกร ผู้สร้างสรรค์ที่ใฝ่ใจน าเสนอด้วยรูปแบบ
                       เหมือนจริงแบบตะวันตกอย่างมาก  กล่าวได้ว่าทั้งรูปทรง  การจัดท่วงท่า  การลงสีและแสง-เงาของ

                       พระยาอนุศาสน์  จิตรกร  มีอิทธิพลของจิตรกรรมตะวันตกอย่างสูง  ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า

                       ผลงานที่วัดทั้งสองแห่งของท่านมีรูปแบบทั้ง 2 ประเภท คือ จิตรกรรมไทยแนวตะวันตก และจิตรกรรม

                       แบบตะวันตก  แต่ทว่าผู้วิจัยได้จัดรวบรวมผลงานของท่านไว้ในรูปแบบจิตรกรรมไทยแนวตะวันตก
                       เนื่องจากมีการผสมผสานรูปแบบระหว่างจิตรกรรมไทยและจิตรกรรมตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน  แม้ว่า

                       ปรากฏอิทธิพลจากจิตรกรรมตะวันตกมากกว่าก็ตาม


                              ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ยังปรากฏในการน าเสนอมุมมอง และการสร้างระยะของผลงาน
                       อย่างชัดเจน ดังที่พบได้ในงานจิตรกรรมฝาผนังทั้งสามแห่ง คือที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดา

                       ราม ที่วัดสามแก้ว และที่วัดสุวรรณดาราราม ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามแม้ว่าจิตรกร

                       จะถ่ายทอดด้วยมุมมองแบบตานกมอง  คล้ายกับการสร้างจิตรกรรมตามขนบนิยมดั้งเดิมของไทย

                       แต่ทว่ากลับน าเสนอจุดอันตรธานหรือจุดลับสายตาที่ขอบฟ้า  ซึ่งอยู่ที่บริเวณระยะหลังของทุกห้อง

                       ในขณะที่จิตรกรรมฝาผนังวัดสามแก้ว  จังหวัดชุมพร  และวัดสุวรรณดาราราม  จังหวัดพระนคร
                       ศรีอยุธยา มีการสร้างจุดลับสายตาหรือจุดอันตรธานที่ระยะหลังซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นฉากทัศนียภาพ

                       เช่นเดียวกัน  แต่กลับน าเสนอมุมมองส่วนใหญ่ด้วยระดับสายตาแบบปกติ  ซึ่งโน้มน าผู้ชมให้เป็น

                       ประหนึ่งผู้ร่วมเหตุการณ์ในฉากตอนของการเล่าเรื่องนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

                              จิตรกรรมตามขนบนิยมของไทยแต่เดิมนั้น  มักน าเสนอภาพในระยะหลังและระยะหน้าที่

                       คมชัดเทียบเท่ากันตลอดทั้งผนัง แต่ทว่าจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสามแก้ว

                       และวัดสุวรรณดาราราม  กลับแสดงระยะใกล้และไกลโดยอาศัยหลักทัศนียวิทยา  ทั้งทัศนียวิทยา

                       เชิงเส้น ซึ่งอาจปรากฏที่สถาปัตยกรรม ตลอดจนแนวถนน ภูเขา หรือแม่น ้า สิ่งเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิด
                       การปรับเปลี่ยนขนาดของรูปทรงให้ลดหลั่นลง  ตามทิศทางของเส้นที่แคบเล็กลงที่ระยะหลัง  และ

                       ทัศนียวิทยาแบบบรรยากาศที่อาจปรากฏอยู่ในฉากทัศนียภาพที่เบื้องหลัง  ซึ่งจิตรกรจะก าหนดสร้าง

                       ความพร่าเลือนให้แก่รูปทรง  ด้วยการลดทอนค่าน ้าหนักของสี  ตลอดจนแสงและเงาที่อยู่ในระยะ

                       ไกลออกไป  เพื่อเป็นการสร้างระยะลึกลวงตาให้เกิดขึ้นภายในผลงาน  ตามแนวทางของการสร้าง

                       งานจิตรกรรมแบบตะวันตก

                              เมื่อกล่าวถึงการใช้สีในงานจิตรกรรมฝาผนังนั้นพบว่า จิตรกรมีความค านึงถึงการก าหนดสี

                       ของบุคคลโดยอ้างอิงตามเนื้อเรื่อง  เช่น  ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  พระรามมีกายสีเขียว  พระ

                       ลักษมณ์มีกายสีเหลืองดั่งทองทา หนุมานมีกายสีขาว นิลพัทมีกายสีด า เป็นต้น หรือจิตรกรรมที่วัด
                       สามแก้ว เทพเจ้าตามคติพราหมณ์-ฮินดูยังคงถูกถ่ายทอดสีตามเทวลักษณะ ตลอดจนที่วัดสุวรรณ
   405   406   407   408   409   410   411   412   413   414   415