Page 412 - kpi20858
P. 412

370





                       พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ดัดแปลงจาก “รามายณะ” มหากาพย์ของอินเดีย พระวิหารวัดสามแก้ว
                       น าเสนอภาพเทพเจ้าในคติพราหมณ์-ฮินดู  กับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักที่

                       ปรากฏในจิตรกรรมตามขนบนิยมดั้งเดิมของไทยมาช้านาน  และที่วัดสุวรรณดาราราม  แสดงพระ

                       ราชพงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ซึ่งไม่เคยปรากฏเป็นเนื้อหาที่ใช้น าเสนอบนจิตรกรรม

                       ฝาผนังมาก่อน นอกจากนี้ภาพลายเส้นและภาพประกอบฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
                       เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ น าเสนอเนื้อหาเรื่องทศชาติชาดก และสมุดภาพ “เทพ มนุษย์

                       ยักษ์  ลิง”  ของพระเทวาภินิมมิต  น าเสนอภาพที่เกี่ยวเนื่องกับตัวละครเรื่องรามเกียรติ์เช่นเดียวกัน

                       กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

                              ด้านประติมากรรมไทยแนวตะวันตก  ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า

                       อยู่หัวมีเพียง  อนุสาวรีย์คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา  ออกแบบจากการน าใบหน้าของตัวนางใน

                       จิตรกรรมตามขนบนิยมของไทยมาดัดแปลงผสมผสานเข้ากับหลักกายวิภาค โดยถ่ายทอดกล้ามเนื้อ

                       และค านึงถึงปริมาตรในลักษณะสมจริงยิ่งขึ้น  แตกต่างไปจากการสร้างสิ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์ในอดีต

                       ที่มักสร้างเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปตามแบบอุดมคตินิยมดั้งเดิม  นอกจากนี้ยังต่างไปจากการ
                       สร้างอนุสาวรีย์บุคคลส าคัญขณะนั้น ที่มักนิยมสร้างในรูปแบบเหมือนจริงแบบตะวันตกด้วย


                              เมื่อศึกษาภูมิหลังการเกิดขึ้นของผลงานจิตรกรรมไทยแนวตะวันตก  และประติมากรรม

                       ไทยแนวตะวันตก  ล้วนเกี่ยวพันกับสถาบันศาสนาและพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น  ดังนั้นรูปแบบของ
                       ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก  นอกจากจะสอดคล้องกับเนื้อหาที่เป็นวรรณกรรมของไทยแล้วนั้น  ยัง

                       เหมาะสมกับพื้นที่ของวัดวาอาราม  ซึ่งพิจารณาได้ว่าสถาบันกษัตริย์มีบทบาทในฐานะที่เป็นองค์

                       อุปถัมภ์และส่งเสริมศาสนา  รวมทั้งยังเป็นผู้ก าหนดทิศทางการสร้างผลงานศิลปกรรมในขณะนั้น

                       ดังนั้นศิลปกรรมไทยแนวตะวันตกทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม  จึงมักปรากฏอยู่ในศาสนสถาน
                       เป็นหลัก


                              ศิลปกรรมแบบตะวันตก

                              ศิลปกรรมแบบตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เกิดจากการที่

                       ศิลปินไทยน าเอาวิทยาการจากศิลปะตะวันตกมาน าเสนอในผลงาน  ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่สะท้อน

                       ภาพลักษณ์ของสยามในคราบความทันสมัย  เท่าทันและทัดเทียมอารยประเทศได้เป็นอย่างดี  โดย

                       แบ่งผลงานออกเป็นจิตรกรรมแบบตะวันตก และประติมากรรมแบบตะวันตก ซึ่งสามารถวิเคราะห์
                       ถึง ดังนี้
   407   408   409   410   411   412   413   414   415   416   417