Page 413 - kpi20858
P. 413

371





                              จิตรกรรมแบบตะวันตกที่ปรากฏ ได้แก่ จิตรกรรมประเภทภาพเหมือนบุคคล คือ ภาพพระ
                       บรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์และพระสาทิสลักษณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์  ส าหรับติดตั้ง

                       ในวังหรือพระที่นั่งเป็นหลัก  ประกอบด้วยผลงานของพระสรลักษณ์ลิขิต  แนม  สุวรรณแพทย์  และ

                       เทียม  จิตรสาสตร์  ตลอดจนภาพเหมือนพระองค์เองของ  หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา  ดิศกุล  ภาพ

                       ทิวทัศน์ของ พระยาอนุศาสน์ จิตรกร และภาพประกอบ ของเหม เวชกร

                              ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลทั้งหมดมีการน าเสนอรูปทรงแบบเหมือนจริง  โดยอ้างอิง

                       ธรรมชาติ  แสดงความถูกต้องของสัดส่วน  โครงสร้าง  กล้ามเนื้อตามหลักกายวิภาคแบบตะวันตก

                       ด้านการน าเสนอมุมมองพบว่า  ยังคงมีข้อจ ากัดด้านการสร้างสรรค์  เนื่องจากจิตรกรสร้างภาพพระ
                       บรมสาทิสลักษณ์ โดยมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์เป็นต้นแบบ เช่น ในผลงานพระบรมสาทิสลักษณ์

                       ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ของพระสรลักษณ์ลิขิต  และแนม  สุวรรณแพทย์

                       ตลอดจนเทียม จิตรสาสตร์ ท าให้การแสดงมุมมองต้องเป็นไปในแบบเดียวกันกับภาพต้นแบบ ขาด

                       อิสระในการก าหนดสร้างมุมมอง และระยะ ภายในผลงาน องค์ประกอบทั้งหมดถูกยึดโยงให้อยู่ใน

                       กรอบคิดภายใต้การน าเสนอผลงานที่มุ่งแสดงความเหมือนจริง  ซึ่งเป็นการแสดงความเหมือนจริง
                       ดังภาพถ่าย  อย่างไรก็ตามจิตรกรสามารถน าเสนออัตลักษณ์ส่วนตนผ่านกระบวนการใช้สีได้อย่าง

                       ชัดเจน  กล่าวคือ  ในขณะที่พระสรลักษณ์ลิขิต  มีทักษะการใช้สีและฝีแปรงอย่างอิสระ  ร่องรอยสีที่

                       แต่งแต้มส่วนรายละเอียดต่างๆ สะท้อนความประณีตได้อย่างโดดเด่น ท าให้ข้อพร่องด้านมุมมองที่

                       ถูกบังคับด้วยภาพต้นแบบถูกกลบความส าคัญลง ด้านผลงานของแนม สุวรรณแพทย์ มีกลวิธีการ
                       แบ่งแยกภาพบุคคลและพื้นหลังออกจากกัน  ด้วยการสร้างความแตกต่างด้านขนาดและความ

                       ประณีตของฝีแปรง  เป็นต้น  ทั้งนี้การใช้สีของพระสรลักษณ์ลิขิต  เมื่อน ามาเปรียบเทียบกับ  แนม

                       สุวรรณแพทย์  พบว่าพระสรลักษณ์ลิขิตมีทักษะด้านการใช้สีที่ลุ่มลึกมากกว่า  สันนิษฐานว่าด้วย

                       เหตุที่ท่านนั้นได้มีโอกาสใกล้ชิดกับจิตรกรต่างชาติ  ตลอดจนได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษายังต่าง
                       ประเทศ ดังนั้นท่านจึงมีทักษะและประสบการณ์ในการเขียนภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกได้ดี


                              จิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลที่ปรากฏในสมัยนี้ ล้วนเกี่ยวเนื่องในองค์พระมหากษัตริย์ พระ

                       บรมวงศานุวงศ์  และบุคคลชั้นสูงของสยาม  ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มแรกที่ตื่นตัวต่อกระแสอิทธิพล

                       ตะวันตกและรับมาปรับใช้ก่อน  ดังเช่นการสร้างจิตรกรรมภาพเหมือนตนเองของหม่อมเจ้าหญิง
                       พิไลยเลขา ดิศกุล น าเสนอความเหมือนจริงทั้งรูปทรง การใช้สี และแสงเงาแบบจิตรกรรมตะวันตก

                       ทว่ามิได้วาดจากพระรูป  หากแต่วาดจากภาพสะท้อนของพระองค์เองในกระจกเงา  ซึ่งเป็นกลวิธีที่

                       จิตรกรตะวันตกหลายท่านใช้เช่นกัน นอกจากนี้ยังปรากฏภาพจิตรกรรมทิวทัศน์ของ พระยาอนุศาสน์

                       จิตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของศิลปิน ในรูปแบบศิลปะตะวันตก อย่างรก็ดี
   408   409   410   411   412   413   414   415   416   417   418