Page 408 - kpi20858
P. 408
366
สรุปการวิเคราะห์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้การสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมอย่างสูง แม้ว่า
สยามจะต้องประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้วยเหตุที่ว่าศิลปวัฒนธรรมนั้นเอื้อประโยชน์ต่อสยาม
ในหลากหลายระดับ ทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดพลังความศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ การ
ท านุบ ารุงศาสนา และเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์ ตลอดจนเป็นภาพสะท้อนของความเจริญ
และความมีอารยะของสยาม เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกับนานาอารยประเทศอีกประการหนึ่ง การ
สร้างสรรค์งานศิลปกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สามารถวิเคราะห์รูปแบบ
ของผลงานศิลปกรรม 2 ประเภท ได้แก่ ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก และศิลปกรรมแบบตะวันตก
ดังนี้คือ
ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก
ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรูปแบบ
ของการน าเอาวิทยาการจากศิลปะตะวันตก มาปรับใช้ร่วมกับแนวทางตามขนบนิยมดั้งเดิมของไทย
แบ่งออกเป็นผลงานจิตรกรรมไทยแนวตะวันตก และประติมากรรมไทยแนวตะวันตกโดยสามารถ
กล่าวถึงในแต่ละประเด็น ดังนี้
จิตรกรรมไทยแนวตะวันตกประกอบด้วย จิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตน
ศาสดาราม โดยจิตรกร 70 ท่าน จิตรกรรมที่พระวิหารวัดสามแก้ว และจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ
วัดสุวรรณดาราราม โดยพระยาอนุศาสน์ จิตรกร ตลอดจนภาพลายเส้นและภาพประกอบฝีพระ
หัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมุดภาพเทพ มนุษย์
ยักษ์ ลิง ของพระเทวาภินิมมิต
ด้านการแสดงรูปทรงได้เกิดการปรับเปลี่ยนให้มีการแสดงออกที่แตกต่างออกไป จากเดิม
รูปทรงมนุษย์ในงานจิตรกรรมตามขนบนิยมมักมีการน าเสนอความงามแบบอุดมคติ ลงสีเรียบและ
ตัดเส้นแบบ 2 มิติ แสดงเส้นสายอันอ่อนช้อย รูปทรงมีลักษณะประดิษฐ์มากกว่าจะน าเสนอให้จริง
ตามธรรมชาติ มีท่วงท่าลีลาเชิงนาฏลักษณ์เพื่อเล่าเรื่องหรือสื่ออารมณ์ให้สอดคล้องไปกับเนื้อหา
อย่างไรก็ตามเมื่อรับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก จึงเกิดการปรับเปลี่ยนท่าทีในการแสดงออกอย่าง
ชัดเจน ดังเช่นรูปทรงมนุษย์ในภาพลายเส้นและภาพประกอบฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และภาพลายเส้นในสมุดภาพ เทพ มนุษย์ ยักษ์ ลิง ของ
พระเทวาภินิมมิต ซึ่งมีที่มาจากการผสานเอาความงามลักษณะไทยเข้ากับสัดส่วนและกล้ามเนื้อที่
อ้างถึงหลักกายวิภาคแบบเหมือนจริงอย่างตะวันตก อีกทั้งในจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระ