Page 409 - kpi20858
P. 409

367





                       ศรีรัตนศาสดาราม  ได้ปรากฏรูปทรงมนุษย์ที่แสดงกล้ามเนื้อ  และในบางกรณีอาจมีการลงสี  และ
                       แสง-เงา เพื่อสร้างรูปทรงในลักษณะ 3 มิติ รวมทั้งยังมีการจัดท่วงท่าที่ดูสมจริงตามธรรมชาติมาก

                       ยิ่งขึ้น  เช่นเดียวกันกับรูปทรงเทพบุตรและเทพธิดา  ทั้งที่วัดสามแก้วและวัดสุวรรณดาราราม  ซึ่ง

                       เขียนโดยพระยาอนุศาสน์  จิตรกร  ที่น าเสนอความงามแบบผสมผสานลักษณะของไทยเข้ากับการ

                       เขียนรูปทรงเหมือนจริงแบบตะวันตก

                              เมื่อกล่าวถึงการสร้างรูปทรงในลักษณธผสมผสานเช่นนี้พบว่า ในผลงานภาพลายเส้นและ

                       ภาพประกอบฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมุด

                       ภาพเทพ มนุษย์ ยักษ์ ลิง ของพระเทวาภินิมมิต ตลอดจนที่จิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรี
                       รัตนศาสดาราม  โดยจิตรกรทั้ง  70  คน  มีอิทธิพลของรูปแบบตะวันตกน้อยกว่า  เมื่อเทียบกับภาพ

                       จิตรกรรมฝาผนังที่วัดสามแก้ว และวัดสุวรรณาดาราราม ซึ่งเขียนโดยพระยาอนุศาสน์ จิตรกร โดย

                       สามารถกล่าวถึงในรายละเอียดดังนี้


                               รูปทรงหลักคือตัวละครส าคัญในเรื่องรามเกียรติ์  ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
                       ยังคงถูกสงวนรูปแบบ    และแสดงความงามเชิงนาฏลักษณ์ตามขนบนิยมดั้งเดิมของไทยเอาไว้

                       หากแต่อาจมีเพียงการวาดใบหน้ามนุษย์ให้สมจริง หรือมีการลงสีและก าหนดค่าแสงเงาให้รูปทรงมี

                       มิติมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ในขณะที่ชาวบ้านหรือตัวประกอบที่มีความส าคัญน้อยลงไป ช่างเขียนมีอิสระ

                       มากพอในการถ่ายทอดแสดงความเหมือนจริงได้มากกว่า  ในท านองเดียวกันกับสมุดภาพลายเส้น
                       ของพระเทวาภินิมมิต  ที่สันนิษฐานว่าถูกน ามาใช้เป็นต้นแบบของการสร้างงานจิตรกรรมที่พระ

                       ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ยังคงแสดงรูปลักษณ์ตามแบบอย่างจิตรกรรมตามขนบนิยม

                       หากแต่ได้ดัดแปลงใบหน้าและกล้ามเนื้อให้สมจริงอย่างตะวันตกมากขึ้น อย่างไรก็ตามภาพลักษณ์

                       ที่เกิดจากการผสมผสานในลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้าเนิ่นนานแล้ว  โดยปรากฏในผลงานส าคัญ
                       หลายชิ้นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ซึ่งภาพลายเส้นและ

                       ภาพประกอบฝีพระหัตถ์ชุดทศชาติชาดกสามารถเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในการ

                       เลือกสรรความงามของทั้งสองวัฒนธรรมมาปรับใช้ในการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี  ผลงานของ

                       พระองค์ประกอบด้วยเส้นสายอันอ่อนช้อยอย่างจิตรกรรมตามขนบนิยมของไทย  แต่ทว่าผสาน

                       แทรกด้วยสัดส่วนและกล้ามเนื้ออย่างตะวันตกแต่พองาม  ในขณะที่เมื่อน ามาเปรียบเทียบกับภาพ
                       จิตรกรรมที่วัดสามแก้ว  และวัดสุวรรณดารารามพบว่า  รูปทรงแบบผสมผสานลักษณะไทยเข้ากับ

                       ตะวันตกปรากฏเพียงที่ผนังตอนบน  ซึ่งแสดงภาพเหล่าเทพบุตรและเทพธิดาก าลังเหาะเหินล่องลอย

                       ในอากาศแต่เพียงเท่านั้น   โดยที่ผนังถัดลงมาซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนมากมีการน าเสนอด้วยรูปทรงใน

                       ลักษณะเหมือนจริง แม้ว่ากล้ามเนื้อและสัดส่วนจะยังถ่ายทอดไม่ถูกต้องตามหลักกายวิภาคนัก แต่
   404   405   406   407   408   409   410   411   412   413   414