Page 414 - kpi20858
P. 414
372
จิตรกรรมแบบตะวันตกยังปรากฏให้เห็นในผลงานการเขียนภาพประกอบของ เหม เวชกร อย่างมี
เอกลักษณ์ ผลงานของท่านน าเอาหลักกายวิภาคและการลงสี ตลอดจนการก าหนดค่าน ้าหนักแสง
เงาแบบตะวันตกมาปรับใช้ในงานออกแบบ จนกลายเป็นผู้สร้างกระแสให้การเขียนภาพแบบตะวันตก
ได้รับความนิยมในสังคมไทยอย่างแพร่หลาย
ด้านประติมากรรมแบบตะวันตกนั้น สามารถพบเห็นได้จากการสร้างอนุสาวรีย์บุคคล
ส าคัญของชาติ ซึ่งในรัชสมัยนี้พบว่ามีอนุสาวรีย์แบบตะวันตก 2 แห่งคือ ปฐมบรมราชานุสรณ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พระบรมรูปพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแบบเต็มพระองค์และเฉพาะพระเศียร งานออกแบบเหรียญราชรุจิ
เหรียญที่ระลึกฉลองพระนครครบ 150 ปี ประติมากรรมรูปเหมือนคุณโรมาโนทั้ง 2 ชิ้น
ปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช สร้างขึ้นเนื่องใน
โอกาสฉลองพระนครครบ 150 ปี ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศ
รานุวัดติวงศ์ และปั้นโดยศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์มีขนาดใหญ่
แสดงออกด้วยรูปแบบเหมือนจริงเชิงอุดมคติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสิ่งระลึกถึงพระบรมมหา
กรุณาธิคุณของปฐมกษัตริย์ผู้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นวัตถุสัญลักษณ์ประจ ายุคสมัย
ตลอดจนมีนัยส าคัญในเรื่องการรื้อฟื้นพลังความศรัทธา ในสถาบันพระมหากษัตริย์อีกทางหนึ่ง
ส่วนอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี มีเป้าหมายเพื่อสดุดีวีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทยอย่างสมเกียรติ
ภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลใหม่และประชาชนจังหวัดนครราชสีมา อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้รับการ
ออกแบบโดยศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี ในลักษณะเหมือนจริงแบบตะวันตก แสดงจิตวิญญาณ
สามัญ เนื่องจากอนุสาวรีย์นี้เกิดขึ้นภายใต้บริบททางการเมืองการปกครองที่เปลี่ยนแปลง มีผู้อุปถัมภ์
ศิลปะที่นอกเหนือไปจากพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และชนชั้นสูง คือ รัฐบาลภายใต้ผู้น า
ประเทศกลุ่มใหม่
พระบรมรูปเหมือนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งแบบเต็มองค์ และเฉพาะ
พระเศียร สร้างขึ้นภายใต้ต้นแบบเดียวกัน ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เคยเสด็จมาเป็นแบบให้ประ
ติมากรผู้ปั้นคือ ศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี ได้มีโอกาสปั้นจากพระองค์จริง ต่อมาในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างพระบรมรูปเหมือนเต็มองค์ส าหรับ
น าไปประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร ส่วนพระเศียรของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมี
วัตถุประสงค์เพื่อจ าหน่ายแก่ผู้สนใจน าไปสักการบูชา กล่าวได้ว่าผลงานประติมากรรมในสมัยรัชกาล
ที่ 7 นี้ ทั้งที่เกิดจากรับสั่งของพระมหากษัตริย์ และค าสั่งของทางการทั้งหมด ส่วนใหญ่ล้วนเป็นฝีมือ
ศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี แทบทั้งสิ้น ได้แก่ ปั้นพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระ