Page 407 - kpi20858
P. 407
365
มุมมองและระยะ การวิเคราะห์
ที่ด้านหลังของเหรียญที่ระลึก ปรากฏอักษร
ความว่า “เฉลิมพระนครร้อยห้าสิบปี พ.ศ.
๒๓๒๕-๒๔๗๕” ทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีการ
น าเสนอระยะด้วยการซ้อนทับกันของรูปทรง ดัง
เห็นได้จากการวางต าแหน่งพระบรมรูปให้
เหลื่อมซ้อนกัน เพื่อให้พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าอยู่ด้านนอก แสดงความเด่น
มากกว่าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลกที่อยู่ด้านใน เรื่องระยะที่ปรากฏ
แบบขยายของเหรียญที่ระลึกเฉลิมฉลองพระนคร 150 ปี นี้ยังสามารถตีความเรื่องเวลาอันแสดงอดีตและ
เก็บรักษาไว้ที่หอประติมากรรมต้นแบบ ปัจจุบันได้อีกทางหนึ่งด้วย
ตารางที่ 36 การวิเคราะห์รูปแบบ เหรียญที่ระลึกเฉลิมฉลองพระนคร 150 ปี ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ปั้นโดย คอร์ราโด เฟโรจี (ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี)
ที่มา: ผู้วิจัย
การสร้างเหรียญที่ระลึกเช่นนี้ เป็นเสมือนเครื่องหมายแห่งการสร้างส านึกในความระลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณที่พระมหากษัตริย์มีให้แก้ผู้ที่ได้รับพระราชทาน ทั้งยังเป็นเสมือนสิ่งกระตุ้น
เตือนให้ผู้ได้รับพระราชทานเกิดความจงรักภักดีต่อสถาบัน ทั้งนี้รูปแบบของการสร้างเหรียญย่อม
ด าเนินไปตามครรลองของการน าเสนอภาพลักษณ์กษัตริย์ในลักษณะเหมือนจริง เพื่อแสดงภาพ
แทนองค์พระมหากษัตริย์ผู้เป็นเจ้าของเหรียญนั้นๆ ซึ่งอาจถ่ายทอดให้เห็นถึงพระราชอ านาจ หรือ
พระเมตตาทางใดทางหนึ่ง
เหรียญที่ระลึกเฉลิมฉลองพระนคร 150 ปี ถือเป็นหนึ่งในประติมากรรมประเภทนูนต ่า ที่
แสดงรูปทรงของพระมหากษัตริย์ถึงสองพระองค์ โดยที่ทั้งสองพระองค์มีพระพักตร์เรียบเฉย ทอด
พระเนตรตรงไปด้านหน้าอย่างมีนัยยะส าคัญ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกมั่นคง และเด็ดเดี่ยวของ
พระมหากษัตริย์ ผู้มีภาวะผู้น าและมีสายพระเนตรกว้างไกล