Page 404 - kpi20858
P. 404

362





                       รัชกาลที่  7  มีความโดดเด่น  นอกจานี้การสร้างเครื่องทรงในลักษณะดังกล่าว  ยังเท่ากับเป็นการ
                       สะท้อนภาพประวัติศาสตร์การทรงเครื่องฉลองพระองค์ของกษัตริย์ไทยไปในตัวด้วย


                              การสร้างพระบรมรูประมหากษัตริย์สองพระองค์ในเหรียญเดียวกันนี้  มีความหมายถึง  ใน

                       รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  พระองค์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี  ที่
                       ทรงสถาปนาพระนครเป็นราชธานีขึ้นเมื่อปี  พ.ศ.2325  ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ

                       ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีการจัดงานฉลองสมโภชพระนครครบ 150 ปีขึ้น ดังนั้นการน าเสนอภาพพระ

                       บรมรูปพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเส้นทางเชิงประวัติศาสตร์ในอดีตตั้งแต่

                       แรกเริ่มของการก่อตั้งพระนคร   ด าเนินต่อเนื่องเรื่อยมาจนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
                       พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น  สอดคล้องกับข้อความตัวอักษรที่ด้านหลัง  ความว่า  “เฉลิมพระ

                       นครร้อยห้าสิบปี พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๗๕”


                              เหรียญสตพรรษมาลาที่น ามาใช้เป็นแบบนั้น  เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ส าหรับพระราช

                       ทานเป็นที่ระลึก  ซึ่งได้รับการออกแบบไว้แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                       เมื่อครั้งเฉลิมฉลองพระนครครบ 100 ปี ที่ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่5

                       ส่วนที่ด้านหลังมีข้อความบ่งบอกถึงวัตถุประสงค์การจัดงานพิธี  ดังนั้นเหรียญที่ระลึก ส าหรับพระ

                       ราชทานในงานเฉลิมพระนคร 150 ปี ครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ

                       วัดติวงศ์จึงทรงออกแบบตัวอักษร  ปรากฏนามพระนครแบบหนึ่ง  และไม่ปรากฏนามอีกแบบหนึ่ง
                       ประกอบกับทรงออกแบบลวดลายด้านหลังเป็นลายสร้อยดอกไม้แบบหนึ่ง และลายกลีบบัวอีกแบบ

                       หนึ่ง เมื่อทรงทูลเกล้าฯ เพื่อขอรับทราบกระแสพระราชด าริ กรมราชเลขาธิการจึงมีหนังสือตอบบก

                       ลับว่า  ทรงโปรดแบบเหรียญที่เขียนพระนามด้านหน้าว่า  พระพุทธยอดฟ้า  และลายด้านหลังเป็น

                       ลายกลีบบัว

                              จากนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านริศรานุวัดติวงศ์ทรงมอบหมายให้ คอร์ราโด

                       เฟโรจี  นายช่างปั้นแห่งศิลปากรสถานเป็นผู้รับหน้าที่ปั้นเหรียญที่ระลึก  ทว่าต่อมาเมื่อน าทูลเกล้า

                       ถวาย ทรงมีกระแสพระบรมราชโองการว่า ไม่โปรด พระบรมรูปของพระองค์บางแห่ง คือ พระนาสิก

                       โด่งเกินไป  ให้ปรับแก้ไขโดยดันเข้าไปเสียประมาณ  มิลลิเมตร  ๑  กับที่พระโอษฐ์เบื้องบนแถวพระ
                       มัสสุนูนสูงขึ้นมากเกินไป ให้ปรับลงเล็กน้อย นอกนั้นเป็นที่พอพระราชหฤทัยดีแล้ว อย่างไรก็ตามใน

                       ระหว่างนั้น    คอร์ราโด เฟโรจี ผู้ปั้น ได้ออกเดินทางไปควบคุมการหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ

                       พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  เพื่อประดิษฐานเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์  ยังประเทศอิตาลี  สมเด็จพระ

                       เจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  จึงทรงมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้คือ
                       จะทรงจัดให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์  กฤดากร  กับนายลุซซี  ช่างเขียน  ถวายงานแก้สนองพระเดช
   399   400   401   402   403   404   405   406   407   408   409