Page 401 - kpi20858
P. 401
359
ผลงานประติมากรรมรูปเหมือนคุณโรมาโนทั้งสองชิ้นข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางใน
การสร้างสรรค์ผลงานส่วนตัวของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ได้รับความบันดาลใจจากความรัก
และความผูกพันที่มีต่อบุตรชาย ผลงานทั้งสองชิ้นมีแนวทางการแสดงออกอันอิสระ อย่างไรก็ตาม
เมื่อน ามาเปรียบเทียบกับผลงานการสร้างผลงานอนุสาวรีย์ หรือบุคคลส าคัญ พบว่าแม้ผลงานจะ
ถ่ายทอดด้วยรูปแบบเหมือนจริงอย่างตะวันตกเช่นเดียวกัน ทว่าผลงานปั้นพระบรมรูปพระมหา
กษัตริย์กลับมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าขาดความอิสระ เนื่องจากต้องสร้างภายใต้กรอบแนวทาง
และข้อก าหนดต่างๆ ของทางการซึ่งเป็นต้นสังกัดของท่าน ในขณะที่ผลงานสร้างสรรค์ส่วนตนกลับ
แสดงออกอย่างง่าย มีความเป็นธรรมชาติสูง ท าให้ประติมากรรมดูราวกับมีชีวิตชีวา
4.2.1.3 เหรียญ
4.2.1.3.1 เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 7 ออกแบบโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม
พระยานริศรานุวัดติวงศ์ ปั้นโดย คอร์ราโด เฟโรจี (ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี)
4.2.1.3.1.1 ภูมิหลัง
เหรียญราชรุจิ เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์สร้างขึ้นส าหรับใช้เป็นสิ่งพระราชทาน เพื่อเป็น
บ าเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์ เหรียญราชรุจิถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์
ทรงมีพระกระแสบรมราชโองการให้คิดท าแบบขึ้นถวาย เพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัย ขณะนั้นพระ
เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ด ารงต าแหน่งเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา จึงทรง
รับสั่งให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดแบบ
ในการนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบเหรียญโดย
อ้างอิงจากเหรียญราชรุจิในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเหรียญ
ราชรุจิในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยมีการขอรับเหรียญดังกล่าว
มาจากกรมราชเลขาธิการ เพื่อมาใช้ดูเป็นตัวอย่าง จากนั้นจึงออกแบบให้มีลักษณะที่คล้ายคลึง
กัน กล่าววคือ ที่ด้านหน้าท าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพะรปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏค าว่า
“ปชาธิปโก ปรมราชาธิราชา” ที่ริมขอบ ด้านหลังออกแบบเป็นรูปจักร ในการนี้ปรากฏภาพร่างฝีพระ
หัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่ทรงร่างภาพเหรียญด้านหน้าเอาไว้
ด้วย
การปั้นเหรียญนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรง
มอบหมายให้นายคอร์ราโด เฟโรจี เป็นผู้ปั้น หล่อด้วยวัสดุกะไหล่เงินและกะไหล่ทอง นอกจากนี้