Page 399 - kpi20858
P. 399
357
มุมมอง ระยะ และแสง-เงา การวิเคราะห์
ผลงานมุ่งเน้นการน าเสนอมุมมองความงามที่ด้านหน้า
ประติมากรสร้างร่องรอยบนผิวประติมากรรม ซึ่งเกิดจาก
การเติมดินขณะปั้น โดยไม่เกลี่ยให้เรียบเนียน ส่งผลท าให้
ประติมากรรมเกิดมิติ มีร่องรอยสะท้อนความมีชีวิตชีวาได้
อย่างน่าอัศจรรย์ ผลงานชิ้นนี้มีการหล่อด้วยสัมฤทธิ์เก็บ
ไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์
มีการเน้นเส้นขอบต่างๆบนใบหน้า ทั้งเส้นขอบตา และ
ขอบปาก ให้มีความลึกมากกว่าเส้นที่บริเวณมือของเด็ก
น้อย สัมพันธ์กับการสร้างเงา เพื่อหวังผลด้านระยะในการ
มอง กล่าวคือ การเน้นเส้นต่างๆบนใบหน้าให้ลึกจนเกิด
เงาที่ชัดเจน ส่งผลท าให้ใบหน้าโดดเด่นมากกว่าบริเวณ
มือที่กุมผ้าขนหนู
1. รูปเหมือน โรมาโน วิเวียนี รายละเอียดผลงาน
คอร์ราโด เฟโรจี, โรมาโน วิเวียนี, พ.ศ.2476, ปูน
ปลาสเตอร์, หอประติมากรรมต้นแบบ
ประติมากรรมรูปเหมือน โรมาโน วิเวียนี มีอายุราว 4-6 ปี
หล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ ในท่ายืนเต็มตัว แสดงอาการ
ขณะออกก้าวเดิน โดยก้าวขาด้านซ้ายออกไปด้านหน้า
เป็นประติมากรรมที่ไม่มีแขนคาดว่าอาจพังเสียหาย จาก
การส ารวจพบว่าผลงานนี้มี 3 ชิ้น สันนิษฐานว่าผลงาน
ดั้งเดิมนั้นหล่อด้วยวัสดุปูนปลาสเตอร์ ต่อมาภายหลังจึง
มีการหล่อด้วยวัสดุสัมฤทธิ์ที่มีความแข็งแรงมากกว่า
เหมาะแก่การเก็บรักษา โดยที่ประติมากรรมสัมฤทธิ์นั้นมี
ทั้งแบบเต็มตัว เก็บรักษาที่หอประติมากรรมต้นแบบ และ
หล่อเฉพาะศีรษะถึงหัวไหล่ เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์