Page 394 - kpi20858
P. 394

352





                       บาท  ส าหรับใช้จ่ายในเหตุการณ์คาดไม่ถึงเช่น  ความผิดพลาดในกระบวนการหล่อ  ซึ่งหากท าการ
                       หล่อส าเร็จในคราวเดียว ค่าใช้จ่ายส าหรับสร้างพระบรมรูปทั้งหมดประมาณ 5,000 บาท


                              ด้านการสร้างพระบรมรูปนั้น  คอร์ราโด  เฟโรจี  ซึ่งปั้นในรูปแบบเหมือนจริง  เดิมพระบาท

                       สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชประสงค์ให้พระบรมรูปทรงเครื่องเต็มยศทหารมหาดเล็ก
                       รักษาพระองค์  ทว่าต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทูลขอ

                       พระราชานุญาตปรับฉลองพระองค์เป็นเครื่องทรงเต็มยศจอมพลทหารบก เนื่องจากมีรายละเอียดมาก

                       เกินงาม  พร้อมทั้งน าพระมาลาออกเสีย  ด้วยเหตุที่พระบรมรูปก็ตั้งในชายคาไม่ใช่กลางแจ้ง  จึงไม่

                       จ าเป็นจะต้องถือไว้ด้วยให้เกะกะ ท าให้พระบรมรูปงดงามเรียบร้อย ดังนั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ
                       พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สร้างขึ้นนี้จึงมีลักษณะที่แสดงความสง่างามและเรียบง่าย


                              ด้านกระบวนการปั้นนั้น  คอร์ราโด  เฟโรจี  ได้ท าการหยิบยืมฉลองพระองค์ของพระบาท

                       สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นต้นแบบในการปั้น  ภายหลังจากการปั้นแบบส าเร็จ  มีการ

                       พระราชพิธีหล่อพระบรมรูป โดยเสวกโท พระยาโหราธิบดี ได้ค านวณพระฤกษ์มหาศุภมงคลการ ใน
                       พิธีหล่อพระบรมรูป รัชกาลที่ 6 ในวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2469 ตรงกับเดือน 4 ขึ้น 2 ค ่า เวลา 9

                       นาฬิกา 33 นาที โดยมีพระราชพิธีที่โรงพระราชพิธี ศิลปากรสถาน พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระ

                       มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ท าการหล่อในประเทศ  โดยได้รับความช่วยเหลือจากกระทรงทหารเรือ  ซึ่งมี

                       เครื่องมือและอุปกรณ์พร้อมทั้งมีช่างผู้ช านาญการ  ต่อมาเมื่อได้อัญเชิญพระบรมรูปไปประดิษฐาน
                       ยังปราสาทพระเทพบิดรแล้ว คอร์ราโด เฟโรจี ยังได้ขอเข้าท าการแต่งพระบรมรูปให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น

                       จากความมุ่งมั่นทุ่มเท  ท าให้  คอร์ราโด  เฟโรจี  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์เบญจมา

                       ภรณ์มงกุฎสยาม      เพื่อเป็นบ าเหน็จความชอบในการหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ

                       เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเข้ารับพระราชทานในวันที่ 4 เมษายน ซึ่งเป็นวันงานฉลองพระบรมรูปดังกล่าว


                              4.2.1.2.2.2 รูปแบบ

                              พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว    สร้างขึ้นตามธรรมเนียมปฏิบัติที่

                       กระท าสืบต่อมาจากรัชกาลก่อนหน้า  คือให้มีการสร้างพระบรมรูปเหมือน  ภายหลังจากพระมหา

                       กษัตริย์ทรงเสด็จสวรรคตแล้ว เพื่อน าไปประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร ให้เป็นที่สักการะบูชา

                       ต่อไป เมื่อกล่าวถึงรูปแบบที่ปรากฏนั้น มีการแสดงออกตามพระราชนิยมทั่วไป ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวมัก
                       ทรงโปรดให้สร้างแบบเหมือนจริง  ทว่าผสานแทรกเอาความสง่างามเชิงอุดมคติร่วมด้วย  ทั้งนี้เพื่อ

                       ส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์   สอดคล้องกับความเชื่อว่ากษัตริย์เป็นผู้ด ารงสถานะของสมมุติ

                       เทพ อย่างไรก็ตามสามารถวิเคราะห์ถึงรายละเอียดของส่วนต่างๆ ได้ดังนี้
   389   390   391   392   393   394   395   396   397   398   399