Page 390 - kpi20858
P. 390

348





                       มหากษัตริย์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น  เริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                       เช่นกัน  พระองค์ทรงลบล้างความเชื่อแต่ดั้งเดิม  ที่เชื่อว่าหากผู้ใดเป็นแบบในการสร้างรูปเหมือน

                       ความอัปมงคลจะมาสู่บุคคลนั้นๆ ด้วยการนั่งเป็นแบบให้สร้างพระรูปเหมือนพระองค์เอง ตั้งแต่นั้น

                       เป็นต้นมา  ความเชื่อในเรื่องนี้ค่อยๆ  คลี่คลาย  จนน าไปสู่พระราชนิยมในการสร้างพระรูปเหมือน

                       หรือประติมากรรมรูปเหมือนของบุคคลทั่วไป ดังที่จะได้ท าการศึกษาต่อไป


                              4.2.1.2.1  พระเศียรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ปั้นโดย  คอร์ราโด
                       เฟโรจี (ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี)


                              4.2.1.2.1.1 ภูมิหลัง

                              พระเศียรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่คอร์ราโด เฟโรจีท าการปั้นนั้น เริ่มขึ้น

                       ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2468  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จมาเป็นแบบ  มีวัตถุประสงค์
                       เพื่อน าไปใช้สร้างเป็นพระบรมรูปเต็มองค์  และน าไปประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร  ดังที่

                       พระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนเคยปฏิบัติ  อย่างไรก็ตามต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

                       เจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต    จึงเปลี่ยนรัชกาลมาสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในปี

                       พ.ศ.2469  จึงได้มีการหล่อพระบรมรูปเต็มองค์ขึ้น  และน าไปประดิษฐานใน  ปราสาทพระเทพบิดร
                       ตามวัตถุประสงค์เดิมที่ได้ตั้งไว้  ทั้งนี้ในระหว่างการสร้างพระบรมรูปเต็มองค์ของพระบาทสมเด็จ

                       พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมี

                       ด าริสร้างพระบรมรูปเฉพาะพระเศียร เพื่อจ าหน่ายให้บุคคลทั่วไปสามารถน าไปสักการบูชาได้ โดย

                       ทรงปรารภกับหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์  และทรงกราบทูลปรึกษา  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

                       กรมพระด ารงราชานุภาพ  ด้วยเห็นหนทางว่า  วิธีการที่ช่างชาวต่างชาติสร้างพระบรมรูปนั้นท าได้
                       ง่าย  และสามารถหล่อได้หลายองค์  ดังนั้นจึงมีด าริสร้างพระบรมรูปเฉพาะพระเศียรขึ้นเพื่ออก

                       จ าหน่ายหารายได้เข้าราชบัณฑิตยสภา


                              เหตุที่หล่อเฉพาะพระเศียร เนื่องเพราะ ราคาต้นทุนต ่า ผู้สนใจสามารถรับไปสักการบูชาได้อีก

                       ทั้งยังเก็บรักษาได้ง่าย  ตลอดจนใช้พื้นที่ในการประดิษฐานพระบรมรูปน้อยอีกด้วย  ภายหลัง  สมเด็จ
                       พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระด ารงราชานุภาพ  ได้น าความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทาน

                       พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงมีรับสั่งให้ด าเนินการ โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา

                       นริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ควบคุมการปั้นหล่อพระเศียรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา
                       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการ  ให้ราชบัณฑิตยสภาแผนกศิลปากร
   385   386   387   388   389   390   391   392   393   394   395